ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
นาดูนโมเดลต้นแบบสมุนไพรในระบบเกษตรที่ดีและเหมาะสมสู่การขับเคลื่อนเมืองสมุนไพรของจังหวัดมหาสารคาม |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
สุนทร โชคสวัสดิ์ธนะกิจ |
เจ้าของผลงานร่วม |
รภัสสา จันทาศรี ,
สุจิตรา ผาระนัด ,
ประยงค์ ตันแล ,
สุศงคาร จันทะสี |
คำสำคัญ |
เกษตรดีที่เหมาะสม;การแปรรูปสมุนไพร;การเก็บเกี่ยวสมุนไพร;ผลิตภัณฑ์สมุนไพร,;สมุนไพร;สบู่สมุนไพร;นาดูน;เมืองสมุนไพร;มหาสารคาม |
หน่วยงาน |
สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ |
2563 |
คำอธิบาย |
โครงการนาดูนโมเดลต้นแบบสมุนไพรในระบบเกษตรที่ดีและเหมาะสมสู่การขับเคลื่อนเมืองสมุนไพรของจังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการผลิตสมุนไพรในระบบ GAP และผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรในระดับจังหวัด ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง โดยมีความร่วมมือหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ชุมชน และเอกชน อย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินการในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ถึง กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ตามแผนงานกิจกรรม ๕ ขั้นตอน คือ ๑). เลือกพื้นที่เป้าหมาย ๒). จัด Zoning และจัดการองค์ความรู้ด้านสมุนไพร ๓). พัฒนานวัตกรรมระบบการผลิตสมุนไพรในระบบ GAP ๔). พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้มาตรฐาน และ ๕). พัฒนาช่องทางการตลาด ผลการศึกษา พบว่า สามารถคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายได้ จำนวน ๘ อำเภอ ดังนี้ ๑. อำเภอเมือง ๒. อำเภอบรบือ ๓. อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ๔. อำเภอเชียงยืน ๕. อำเภอนาดูน ๖.อำเภอกันทรวิชัย ๗.อำเภอวาปีปทุม และ๘. อำเภอชื่นชม ได้สมาชิกเครือข่ายสมุนไพร ๙ กลุ่มวิสาหกิจ มีจำนวนสมาชิก ๗๔๔ คน มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด ๗๒๒ ไร่ (จากเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ ๔๐ ไร่) ซึ่งเกินจากพื้นที่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ๖๘๒ ไร่ การจัด zoning ชนิดสมุนไพร เน้นการจัดชนิดสมุนไพรที่มีอายุสั้นคืนทุนได้เร็ว โดยอาศัยการจัดการร่วมกับภูมิปัญญาพื้นบ้านในพื้นที่เป้าหมาย การจัดนวัตกรรมการผลิตสมุนไพร เน้นการปลูกสมุนไพรในระบบเกษตรผสมผสานเป็นหลักเพื่อลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการผลิต สร้างนวัตกรรมการปลูกสมุนไพรแบบพึ่งพา จัดสวนแบบจำลองสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับระบบนิเวศของป่าการปลูกป่าสมุนไพร ๕ ระดับ สร้างนวัตกรรมการปลูกสมุนไพรแบบ พออยู่ พอกิน พอใช้ ประกอบด้วย สมุนไพรใช้สอยไม้รั้ว สมุนไพรกินได้และรักษาโรค สมุนไพรเศรษฐกิจ การบริหารจัดการธุรกิจสมุนไพรเพื่อส่งเสริมอาชีพท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคามแบบยั่งยืน ดำเนินการส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายผู้ผู้ผลิตสมุนไพร เป็น ๓ ช่วง ดังนี้
- ช่วงต้นทาง ผลิตสมุนไพรที่มีศักยภาพตามการจัด Zoning ในพื้นที่ตั้งแต่การปลูกสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน GAP ให้ความรู้ด้านนวัตกรรมปลูก และการเก็บเกี่ยวสมุนไพร ตลอดจนใช้การจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านสมุนไพรเพื่อจัดทำเป็นข้อมูลที่ใช้ร่วมกันของเครือข่ายธุรกิจสมุนไพร
- ช่วงกลางทาง นำผลผลิตสู่การใช้ประโยชน์ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิต การเก็บเกี่ยว การแปรรูปและการตลาด ให้กับกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจสมุนไพร จำนวน ๒๙ โครงการ แปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้หลากหลายตรงความต้องการผู้บริโภค
- ช่วงปลายทาง สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สมุนไพร และการส่งเสริมการตลาด พัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม และมีความหลากหลาย สามารถสร้างเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามความต้องการของผู้บริโภคหลายๆ ประเภท อาทิ ลูกประคบผ้าขาวม้า สบู่น้ำผึ้งขมิ้นชัน สบู่น้ำผึ้งไพล รองเท้าสมุนไพร ยาสระ-หมักผมมะกรูด ดำเนินขอการรับรองมาตรฐานการผลิต อย. เพิ่ม ช่องทางการประชาสัมพันธ์ เชื่อมโยงการตลาด สร้างความร่วมมือของทุกหน่วยงานทั้งในจังหวัดและประเทศ ขยายฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ |
สาขาการวิจัย |
|