ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของการทำ Seed Priming ต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์แตงกวา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ดวงกมลวรรณ กบกันทา |
เจ้าของผลงานร่วม | ศิวาพร ธรรมดี , ณัฐศักดิ์ กฤติกาเมษ |
คำสำคัญ | การกระตุ้นการงอก;แตงกวา;การงอก;การดูดน้ำ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาเพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้ความชื้นสำหรับทำ seed priming ของแตงกวาลูกผสมพันธุ์ Super Big มี 9 กรรมวิธีทดลองคือ กรรมวิธีควบคุมที่เมล็ดไม่ได้ทำ seed priming กรรมวิธีที่เมล็ดทำ seed priming โดยให้ความชื้นนาน 0.5, 1, 2, 4, 8, 16 ชม. หรือจนรากแรกเกิดงอก และกรรมวิธีที่นำเมล็ดผ่านน้ำไหลเป็นเวลาสั้น 1 นาที การทำ seed priming ให้ความชื้นแก่เมล็ดโดยวางเมล็ดระหว่างก้อนโอเอซิสที่อุณหภูมิ 25°ซ ความชื้นสัมพัทธ์ 90% เมื่อครบเวลาให้ความชื้นตามกรรมวิธีทดลอง ลดความชื้นของเมล็ดกลับสู่น้ำหนักเริ่มต้น เก็บเมล็ดในถุงพลาสติกปิดผนึกที่อุณหภูมิ 17°ซ การทดสอบการงอกแยกเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองในสภาพควบคุมหรือในห้องปฏิบัติการเพาะเมล็ด ในวัสดุเพาะที่ประกอบด้วยทรายผสมขุยมะพร้าวและถ่านแกลบในตู้ควบคุมสภาพแวดล้อม ใช้อุณหภูมิสลับ 30/20°ซ (แสง 8 ชม./มืด 16 ชม.) ความชื้นสัมพัทธ์ 60% ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การให้ความชื้นแก่เมล็ดพันธุ์แตงกวา โดยวางเมล็ดระหว่างก้อนโอเอซิสที่ชื้น ที่อุณหภูมิ 25°ซ ทำให้เมล็ดเริ่มเข้าสู่ระยะที่สองของการดูดน้ำ ซึ่งเป็นระยะที่เมล็ดมีความชื้นสูงแต่คงที่ ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 16 และสิ้นสุดระยะที่สอง ในชั่วโมงที่ 40 ของการให้ความชื้น การทำ seed priming โดยให้ เมล็ดได้รับความชื้นนาน 16 ชม. ซึ่งเป็นช่วงต้นของระยะที่สอง สามารถเพิ่มเปอร์เซ็นต์ การงอกของเมล็ดได้ในการทดสอบในสภาพควบคุม และทำให้ ต้นกล้ามีการพัฒนาของใบจริงเร็วขึ้นในการทดสอบในสภาพแปลงปลูก และเป็นไปได้ว่าการทำ seed priming โดยให้เมล็ดได้รับความชื้นยาวนานกว่า 16 ชม. แต่ไม่เกิน 40 ชม. จะช่วยพัฒนาคุณภาพของเมล็ดได้ดียิ่งขึ้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=05%20Duangkamolwan.pdf&id=1123&keeptrack=11 |
สาขาการวิจัย |
|
ผลของการทำ Seed Priming ต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์แตงกวา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.