ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | พัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์งางอกร่วมกับการคั่ว เพื่อการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุนัน ปานสาคร |
เจ้าของผลงานร่วม | จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ |
คำสำคัญ | ธัญพืช;เมล็ดงา;สารกาบา;การแช่;การงอก |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ.ปทุมธานี |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของเมล็ดงา ระหว่างกระบวนการงอกที่สภาวะต่าง ๆ เพื่อการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร จากการทดลองผลิตงางอกจากงาดำ-แดงพันธุ์เกษตรพื้นเมือง โดยทดลองแช่ในน้ำที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 4 และ 6 ที่เวลาการแช่ 24 ชั่วโมง ณ อุณหภูมิ (27 ± 2 องศาเซลเซียส) และการแช่ 2-4 ชั่วโมง ร่วมกับการบ่ม 20-22 ชั่วโมงที่อุณหภูมิเดิม โดยเปรียบเทียบผลการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของงางอกที่ได้กับงาไม่ผ่านกระบวนการงอก จากการทดลองพบว่า หลังการแช่เมล็ดงาในน้ำค่าความชื้นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 4-6 ชั่วโมง และ มีแนวโน้มคงที่ หากแต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเมล็ดงาเข้าสู่กระบวนการบ่ม เมื่อทำการทดสอบเปอร์เซ็นต์การงอกและปริมาณสาร GABA พบว่าเปอร์เซ็นต์การงอกลดลงเมื่อแช่งาในน้ำที่มีค่าความเป็นกรดสูง (pH 4) หากแต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อแช่เมล็ดงาในน้ำ (pH 4 และ 6) ร่วมกับการบ่ม และให้ค่าสูง กว่ากรณีการแช่เมล็ดงาในน้ำเพียงขั้นตอนเดียว โดยให้ปริมาณสาร GABA สูงสุด 47.27 มิลลิกรัม/100 กรัม ที่สภาวะแช่เมล็ดงาในน้ำ 2 ชั่วโมงร่วมกับการบ่ม 22 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของสาร GABA หลังการงอกของเมล็ดงาจะลดลง (12.04 มิลลิกรัม/100 กรัม) เมื่อนำงางอกไปคั่วด้วยกระทะให้ความร้อน (100 องศาเซลเซียส, 60 นาที) แต่ยังคงมีค่าสูงกว่างาสดที่ไม่ผ่านการงอก (5.85 มิลลิกรัม/100 กรัม) นอกจากนี้เมล็ดงางอกยังให้ค่าความสว่าง ค่าความเป็นสีแดง และสีเหลืองลดลง เมื่อเทียบกับเมล็ดงาสด ดังนั้นจากการทดสอบจึงพบว่า งาที่ผ่านการงอกมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่างาสด |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=12%20Sunan.pdf&id=1130&keeptrack=2 |
สาขาการวิจัย |
|
พัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์งางอกร่วมกับการคั่ว เพื่อการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.