- ดร.สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์
- 419 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ความเป็นไปได้ในการใช้แตนเบียนและไส้เดือนฝอยในการควบคุม แมลงวันบ้านในปศุสัตว์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อุบล ตังควานิชร |
เจ้าของผลงานร่วม | นุชรีย์ ศิริ , วิโรจน์ ขลิบสุวรรณ , สิริภา แก้วคำแสน , วรางรัตน์ เสนาสิงห์ |
คำสำคัญ | ไส้เดือนฝอย;Steinernema carpocapsae;แตนเบียนดักแด้แมลงวัน |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาประสิทธิภาพแตนเบียนดักแด้แมลงวันบ้าน 3 ชนิดคือ Spalangia gemina, Pachycrispoidius vindemiae และ Exoristobia philippinensis และไส้เดือนฝอยชนิด Steinernema carpocapsae ในการควบคุมแมลงวันบ้านในปศุสัตว์ โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลงเบียนดักแด้แมลงวันบ้าน ที่จำนวน 1, 5, 10, 20 และ 30 ตัว พบว่า แตนเบียนชนิด P. vindemiae มีอัตราการเบียนเพิ่มขึ้นเมื่อระดับความหนาแน่นของดักแด้เพิ่มขึ้น แตนเบียน S.gemina และ E. philippinensis สามารถเบียนดักแด้แมลงวันได้สูงสุดที่ความหนาแน่นของดักแด้เท่ากับ 20 ตัว โดยมีการเบียนดักแด้มากที่สุดคือ 16 และ 4.4 ตัวต่อวัน และเริ่มคงที่เมื่อความหนาแน่นของดักแด้เพิ่มขึ้น การทดสอบหาความเข้มข้นที่เหมาะสมของไส้เดือนฝอยในการควบคุมหนอนแมลงวันบ้าน เมื่อพ่นไส้เดือนฝอยที่ความเข้มข้น 250, 500, 1,000 และ 1,500 ตัว/จานทดลอง ที่บรรจุหนอนแมลงวัน 5 ตัวในมูลโค 15 กรัม พบว่าไส้เดือนฝอยความเข้มข้น 250-1,500 ตัว ทำให้หนอนแมลงวันตาย 96-100 เปอร์เซ็นต์ภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อทดสอบความถี่ในการพ่นไส้เดือนฝอยในสภาพคอกโคนม ด้วยไส้เดือนฝอย 50,000 ตัวที่ความถี่ 4 ครั้ง/สัปดาห์, 2 ครั้ง/สัปดาห์ และ 1 ครั้ง/สัปดาห์ พบว่า ในการพ่น 4 ครั้ง/สัปดาห์ มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณหนอนแมลงวันได้ถึง 63.64% ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูล พื้นฐานในการเลือกชนิดและปริมาณ แตนเบียน และไส้เดือนฝอยในการควบคุมแมลงวันใน คอกสัตว์ต่อไป |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=14%20Ubon.pdf&id=1132&keeptrack=3 |
สาขาการวิจัย |
|
ความเป็นไปได้ในการใช้แตนเบียนและไส้เดือนฝอยในการควบคุม แมลงวันบ้านในปศุสัตว์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.