ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การผลิตเอนไซม์ในกลุ่มลิกนิโนไลติก เบตากลูแคน และสารต้านอนุมูลอิสระของเห็ดราไวท์รอท เพื่อศักยภาพการใช้ประโยชน์ในเครื่องสำอาง |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
เชิดชัย โพธิ์ศรี |
เจ้าของผลงานร่วม |
ณัฎฐิกา สุวรรณาศรัย ,
รุ้งเพชร แข็งแรง ,
พิสิฐ ธรรมวิทยากร |
คำสำคัญ |
เห็ดป่า;ราไวท์รอท;เอนไซม์;สารต้านอนุมูลอิสระ;เครื่องสำอาง |
หน่วยงาน |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม |
ปีที่เผยแพร่ |
2563 |
คำอธิบาย |
การศึกษาตัวอย่างเห็ดราไวท์รอท จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สามารถเพาะเลี้ยงสายพันธุ์ราบริสุทธิ์ได้จำนวน 150 ไอโซเลท ราสายพันธุ์คัดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ในการผลิตเอนไซม์กลุ่มลิกนิโนไลติก (แลคเคส แมงกานีสเปอร์ออกซิเดส และลิกนินเปอร์ออกซิเดส) โดยค้นพบสายพันธุ์ราชนิดใหม่ Pseudolagarobasidium sp. PP17-33 ซึ่งรายงานเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่สามารถผลิตเอนไซม์แลคเคส แมงกานีสเปอร์ออกซิเดส และลิกนินเปอร์ออกซิเดส ได้สูงภายใต้สภาวะที่เหมาะสม สามารถใช้เป็นแหล่งผลิตเอนไซม์ที่ดีได้ในอนาคตและสามารถสกัดสารเบต้ากลูแคนจากเส้นใยราบริสุทธิ์ ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ มีประสิทธิภาพดี สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ essence ต้นแบบได้
|
สาขาการวิจัย |
|