ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การใช้ประโยชน์จากยีสต์และผลิตภัณฑ์เอนไซม์เพื่อเพิ่มมูลค่าของน้ำผึ้งไทย |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ผศ.ดร.นิษก์นิภา สุนทรกุล |
เจ้าของผลงานร่วม |
ผศ.ดร. อรวรรณ ดวงภักดี ,
ปรีชา รอดอิ่ม ,
พิชชาภัสร์ สุนทรกุล ,
พัทธนันท์ สงเดช ,
วิวรรณ สมัครการ ,
ศิริพร ทองมี |
คำสำคัญ |
ความหลากหลายทางชีวภาพ;เศรษฐกิจฐานชีวภาพ;กลุ่มจุลินทรีย์;ยีสต์;โปรไบโอติค;ผลิตภัณฑ์ผึ้ง |
หน่วยงาน |
ห้องปฏิบัติการยีนและเอนไซม์เทคโนโลยี สายวิชาเทคโนโลยีชีวเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) |
ปีที่เผยแพร่ |
2563 |
คำอธิบาย |
จากการศึกษาตัวอย่างน้ำผึ้งทั้งหมด 26 ตัวอย่าง จากภาคตะวันตกของประเทศไทย พบว่าสามารถแยกจุลินทรีย์ประเภทยีสต์ได้ทั้งหมด 263 ตัวอย่าง เมื่อนำไปทดสอบคุณลักษณะของโบรไบโอติกพบว่า เหลือเพียงแค่ 13 ตัวอย่างเท่านั้น และได้ทำการคัดแยกโดยวิธี PCR-amplified intergenic transcripted spacer region sequencing ของ rDNA (ITS1-5.8S rDNA-ITS2) ในแหล่งน้ำผึ้งต่าง ๆ และการค้นหาคุณสมบัติที่เชื่อมโยงกับการผลิตกรด ผลการศึกษาพบว่ายีสต์ที่แยกได้จากน้ำผึ้งมีทั้งหมด 4 พันธุ์ ได้แก่ Saccharomyces cerevisiae (Specific primer), Torulaspora pretoriensis (Identity 99.76%), Candida riodocensis(Identity 93%) และ Candida etchellsii (Identity 99.18%) และได้หาคุณลักษณะพิเศษ ของยีนที่ใช้ในการผลิตกรด จากยีน SDH1 และ WHI2 ผลปรากฏว่ามีตัวอย่างยีสต์ RSO2 และ RSO3 ที่ปรากฎเฉพาะยีน WHI2 จากการทดลองของานวิจัยฉบับนี้ ใช้สำหรับการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของยีสต์จากน้ำผึ้ง เพื่อการปรับปรุงสำหรับการใช้งานในการผลิตทางชีวเคมีในอนาคตต่อไป |
สาขาการวิจัย |
|