ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การสื่อสารสุขภาพในท้องถิ่นเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกผ่านสื่อนิตยสาร
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ฟารีดา เจะเอาะ
คำสำคัญ การสื่อสารสุขภาพ;โรคไข้เลือดออก;นิตยสาร;การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
หน่วยงาน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษากระบวนการผลิตเนื้อหาสุขภาพในท้องถิ่นเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกด้วยเครื่องมือสื่อสารและถอดบทเรียนการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนในการสื่อสารสุขภาพในท้องถิ่นเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก พบว่า กระบวนการผลิตเนื้อหาสุขภาพในท้องถิ่นเป็นการทำงานในลักษณะพึ่งพากันแบบ 2 จังหวะ คือ การย่อยข้อมูล และแปรรูปงานวิจัยเดิม เพื่อให้เป็นรูปแบบใหม่ที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย และการสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อการผลิตเครื่องมือสื่อสารบนฐานความรู้จากงานวิจัย ส่วนการถอดบทเรียนการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนในการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมีกระบวนการทำงาน 7 ขั้นตอน คือ 1.)ตีความงานวิจัย 2.)ทำความรู้จักชุมชน 3.)วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย 4.) เลือกเครื่องมือสื่อสาร 5.) ออกแบบและสร้างสรรค์เนื้อหา 6.) ประเมินคุณภาพผลงาน และ 7.) คืนข้อมูล กระบวนการเหล่านี้ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เข้าใจ จนสามารถผลิตนิตยสาร“บริสุข”บนฐานความรู้งานวิจัย บริบทชุมชน และแนวคิดการสื่อสารสุขภาพ โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสื่อสารสุขภาพในท้องถิ่นเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก คือ ความเป็นคนในพื้นที่ ภาษา บุคลิกภาพ มารยาทและการปรับตัว ความร่วมมือจากเจ้าของงานวิจัยเป้าหมาย และการเปิดใจเรียนรู้กับสิ่งใหม่
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.tci-thaijo.org/index.php/PNRU_JHSS/article/view/124781/133764
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


การสื่อสารสุขภาพในท้องถิ่นเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกผ่านสื่อนิตยสาร is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง