ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การศึกษาเชิงมาตรการในการยกระดับความปลอดภัยสำหรับการใช้รถจักรยานยนต์เช่าของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ภาวิณี เอี่ยมตระกูล |
เจ้าของผลงานร่วม |
อัมพิกา ชุมมัธยา ,
วัฒนวงศ์ รัตนวราห |
คำสำคัญ |
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ;รถจักรยานยนต์เช่า;ความปลอดภัยทางถนน;จังหวัดเชียงใหม่ |
หน่วยงาน |
ภาควิชาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ |
2563 |
คำอธิบาย |
การศึกษาเชิงมาตรการในการยกระดับความปลอดภัยสำหรับการใช้รถจักรยานยนต์เช่าของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของหน่วยงานในการจัดการความปลอดภัยทางถนนและรูปแบบการจัดการเชิงมาตรการในการยกระดับความปลอดภัยในการใช้รถจักรยานยนต์เช่าของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ศึกษา ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ด้วยการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเชิงมาตรการในการยกระดับความปลอดภัยทางถนนและบูรณาการร่วมกับนวัตกรรมให้เกิดความเหมาะสมต่อการใช้งานอันจะนำไปสู่การผลักดันให้เกิดการนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากองค์ความรู้ที่ได้มีการศึกษาเข้ามาผนวกเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการความปลอดภัยทางถนนของหน่วยงานในกลุ่มเป้าหมาย โดยมีพื้นที่ศึกษา คือ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษา จากการเก็บรวบรวมความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามและการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ประเด็นปัญหาจากการให้บริการและการจัดการเกี่ยวกับการใช้รถจักรยานยนต์เช่าของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องมีสภาพปัญหาที่ต้องการรูปแบบการแก้ไขที่แตกต่างกัน โดยสามารถถอดประเด็นสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อเติมช่องว่างในการจัดการการใช้รถจักรยานยนต์เช่าที่ปลอดภัย อันประกอบด้วย 1) นักท่องเที่ยว: สิทธิพิเศษส่วนลดต่าง ๆ การให้ข้อมูลการท่องเที่ยวและเส้นทางที่ปลอดภัย การติดต่อฉุกเฉินที่ครบครัน ความสบายใจและการดูแลหลังการเกิดอุบัติเหตุ 2) สถานประกอบการ: การเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ การลดความยุ่งยากจากการกรอกประวัติลูกค้า เพิ่มความปอลดภัยในการปล่อยเช่า การติดตามรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ความน่าเชื่อถือในการบริการของสถานประกอบการ และการตรวจสภาพของรถจักรยานยนต์เช่า 3) หน่วยงานภาครัฐ: ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่ได้รับ การปฏิบัติงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การจัดเก็บข้อมูลที่ได้นำไปใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ การตรวจสอบประวัติย้อนหลังของนักท่องเที่ยวได้ ลดปัญหาด้านการติดต่อสื่อสาร ลดช่องว่างด้านภาษา โดยการพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องการคัดกรองทักษะผู้ขับขี่ การครอบครองใบขับขี่ของผู้ขับขี่ และการไม่สวมหมวกนิรภัย เนื่องจากความสอดคล้องกับฟังก์ชันหลักโดยตรงของแอปพลิเคชันที่จะช่วยตรวจสอบสภาพรถจักรยานยนต์และประเมินทักษะของผู้ขับขี่ก่อนและหลังการเช่ารถจักรยานยนต์เพื่อคัดกรองผู้ขับขี่ให้สามารถมีความพร้อมในการขับขี่อย่างปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามด้วยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงแอปพลิคชันทำให้สามารถปรับปรุงแอปพลิเคชันให้มีรูปแบบการใช้งานง่าย และมีความหลากหลายของรูปแบบการใช้งานที่จะช่วยส่งเสริมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว โดยมีหน่วยงานและกลุ่มผู้ใช้งานนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สถานประกอบการรถจักรยานยนต์ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยความต้องการของผู้ใช้งานมีการเปลี่ยนแปลงตามพลวัตรต่าง ๆ ทั้งความทันสมัยของเทคโนโลยีและการเข้าถึงนวัตกรรม ดังนั้นแอปพลิเคชันจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาและอัพเดตรูปแบบการใช้งานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของการใช้งานต่อไป |
สาขาการวิจัย |
|