ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การผลิตกระดาษจากเศษผ้าฝ้าย
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ฐิตารินีย์ สุโรพันธ์
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ การผลิตกระดาษ;เศษผ้าฝ้าย;กระดาษหัตถกรรม;ลวดลาย
หน่วยงาน กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การใช้เศษผ้าฝ้ายเป็นวัตถุดิบทดแทนปอสาในการผลิตกระดาษหัตถกรรม เนื่องจากปอสามีราคาสูงขึ้นและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของประเทศไทยมีเศษผ้าเหลือจากการผลิตเป็นจำนวนมาก เพื่อการลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งพัฒนาคุณสมบัติและลวดลายของผลิตภัณฑ์ ดังนี้ การบดเศษผ้าฝ้ายโดยใช้ เวลา 20 นาที แบบใส่ตุ้มน้ำหนักถ่วง 6 กิโลกรัม ด้วยเครื่องบดเยื่อแบบ Valley Beater ที่สภาพการระบายน้ำของเยื่อ (Freeness) คือ 252 ml เยื่อจากเศษผ้าฝ้ายมีการกระจายตัวของเส้นใยได้ดีขณะขึ้นแผ่น โดยไม่ต้องเติมสารช่วยกระจายเส้นใย กระดาษที่ผลิตในห้องปฏิบัติการมีสมบัติกระดาษ ดังนี้ ความหนาแน่นปรากฏ (Apparent density) 5.90 g/cm3 ดัชนีความต้านแรงดึง (Tensile index) 0.027 Nm/g ดัชนีความต้านแรงฉีกขาด (Tear index) 8.74 mNm2 /g และดัชนีความต้านแรงดันทะลุ (Burst index) 1.60 kPam2 /g การเตรียมน้ำเยื่อนี้สามารถนำไปขึ้นแผ่นแบบหัตถกรรมและสร้างลวดลายด้วยเทคนิคการสร้างลวดลายด้วยแรงดันน้ำ พบว่า เยื่อและกระดาษจากเศษผ้าฝ้ายที่ผลิตได้มีคุณภาพดีเป็นไปตามที่ผู้ประกอบการต้องการ และสามารถปรับปรุงคุณภาพให้เป็นตามมาตรฐานชุมชนได้ ดังนั้นเศษผ้าฝ้ายจึงสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษหัตถกรรมได้
ข้อมูลเพิ่มเติม http://lib3.dss.go.th/fulltext/bulletin_science/BAS_8_2562_3.pdf
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


การผลิตกระดาษจากเศษผ้าฝ้าย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง