ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ Media and Information Literacy |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อุษา บิ้กกิ้นส์ |
คำสำคัญ | การรู้เท่าทันสื่อ;การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับคนในยุคปัจจุบัน การส่งเสริมให้การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศขยายศักยภาพของคนในด้านสิทธิมนุษยชน ตาม Article 19 ของ The Universal Declaration of Human Rights ซึ่งกล่าวว่า “ทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกอย่างเสรี สิทธินี้รวมทั้งเสรีภาพในการออกความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซงและการค้นหา การรับ ข้อมูลข่าวสารและความคิดผ่านทางสื่อมวลชนอย่างไร้พรมแดน” ซึ่งหากรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์ในกระบวนการสอนและการเรียนรู้ ทำให้ครูได้ขยายความรู้ในการเสริมพลังพลเมืองในอนาคต การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศให้ความรู้สำคัญเกี่ยวกับหน้าที่ของช่องทางสารสนเทศและสื่อในสังคมประชาธิปไตย ความเข้าใจอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับเงื่อนไขที่จำเป็นในการทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและทักษะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานในการประเมินการทำงานของผู้ถ่ายทอดสื่อและสารสนเทศในมิติของหน้าที่ที่คาดหวัง นอกจากนี้สังคมที่มีการรู้เท่าทันสื่อและการรู้เท่าทันสารสนเทศเน้นการพัฒนาสื่อที่มีเสรีภาพ เป็นอิสระ และหลากหลาย |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/magazine/fbthw2uccf4gokk.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ Media and Information Literacy is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.