ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การใช้ประโยชน์สุกรพันธุ์ไทยในระบบการเกษตรยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พงษ์ชาญ ณ ลำปาง
เจ้าของผลงานร่วม -
คำสำคัญ สุกร;เกษตรยั่งยืน;สุกรพันธุ์ไทย;ระบบการเกษตร
หน่วยงาน สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การหาวิธีการที่เหมาะสมในการใช้อาหารสุกรพันธุ์ไทย จากวัสดุเศษเหลือจากไร่นา พบว่า 1) การผึ่งใบมันสำปะหลังในร่มเป็นเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณของ Hydrocyanic acid ลงได้ประมาณ 35 และ 65% ตามลำดับ และการหมักสามารถลดปริมาณของ Hydrocyanic acid เป็นเวลา 30, 60 และ 90 วัน สามารถลดปริมาณของ Hydrocyanic acid ลงได้ ประมาณ 50, 76 และ 86% ตามลำดับ 2) การใช้ใบมันสำปะหลังที่หมักไว้เป็นเวลา 90 วันในปริมาณ 15% ของอาหารข้นที่ประกอบด้วย มันเส้น รำข้าวและข้าวโพด ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่ออัตราการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารของสุกรพันธุ์ไทย 3) เปอร์เซ็นต์ซากแต่งของสุกรพันธุ์ไทยไม่แตกต่างจากของสุกรขุน (P>0.05) แต่มี ความยาวซากและพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันต่ำกว่า (P<0.01) และมีความหนาไขมันสันหลังและความหนาหนังสูงกว่าสุกรขุน ในการตัดแต่งซากแบบไทย ซากสุกรพันธุ์ไทยมีปริมาณเนื้อแดงและกระดูกต่ำกว่า แต่มีปริมาณไขมันสูงกว่าสุกรขุน
ข้อมูลเพิ่มเติม http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5256/1/Fulltext.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การใช้ประโยชน์สุกรพันธุ์ไทยในระบบการเกษตรยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง