ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกล้วยน้ำว้า
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ช่อฟ้า กลิ่นจันทร์
เจ้าของผลงานร่วม พูลทรัพย์ แก้วทองค้า , นัฐตวัน ล้วนลอย , วิรัชยา อินทะกันฑ์
คำสำคัญ ไอศกรีม;กล้วยน้ำว้า
หน่วยงาน สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก นิยมนำกล้วยที่แปรรูปเป็นของฝากของที่ระลึก นอกจากนี้ ยังการนำแป้งกล้วยมาประยุกต์ในการผลิตอาหารต่างๆ เช่น การทดแทนแป้งสาลีในขนมอบและขนมไทย อาหารของทารกและคนชรา เป็นต้น กล้วยน้ำว้าสามารถนำมาพัฒนาในผลิตภัณฑ์ไอศกรีมได้ การศึกษาปริมาณการเสริมกล้วยน้ำว้า เป็น 3 ระดับ ดังนี้ 200 กรัม, 400 กรัมและ 600 กรัม ตามลำดับ การทดสอบการยอมรับ พบว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ไอศกรีม เสริมกล้วยน้ำว้าปริมาณ 200 กรัม องค์ประกอบทางเคมี พบว่า ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเสริมกล้วยน้ำว้า 200 กรัม มีความชื้น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เยื่อใยและเถ้า 90.79, 27.2, 5.27, 2.16, 1.23, 0.55 และค่าสี L* a* b* เท่ากับ 52.16, 14.96, และ 14.28 ตามลำดับ และมีใยอาหารเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากสูตรมาตรฐาน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://research.kpru.ac.th/sac/fileconference/24022018-05-01.pdf
สาขาการวิจัย -
Creative Commons License


การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกล้วยน้ำว้า is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง