- ศิริกาญจน์ กอบเกียรติถวิล
- 361 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ปลาชังน้ำ : สถานการณ์การเลี้ยงปลาทับทิมกระชังน้ำในชุมชน กรณีศึกษา บ้านวัดใหม่ หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นฤเบศวร์ สถิต |
เจ้าของผลงานร่วม | เดโช แขน้ำแก้ว , จิตติมา ดำรงวัฒนะ |
คำสำคัญ | ปลาชังน้ำ;ปลาทับทิม;สถานการณ์การเลี้ยงปลาทับทิม |
หน่วยงาน | สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | วิธีการเลี้ยงปลาทับทิมกระชังน้ำในชุมชน มีขั้นตอนการเลี้ยงปลาทับทิม ตั้งแต่เลือกติดตั้งกระชังในบริเวณที่มีน้ำลึก ประมาณ 2-3 เมตร และน้ำไหลเวียนตลอดเวลา เตรียมกระชังมาตรฐานขนาด 6×6 เมตร ให้อาหารเหมาะสมตามช่วงอายุของปลา สามารถจับปลาได้ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนครึ่งถึง 4 เดือนเป็นต้นไป มีปัญหาในการเลี้ยงปลาทับทิมกระชังน้ำในชุมชน เนื่องจากบางฤดูกาลน้ำในกระชังร้อนเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดโรคระบาดกับปลา มีปัญหาศัตรูของปลาทับทิมจะมีทั้งจำพวกที่อยู่บนบก คือ นกกระยาง รวมถึงนกที่กินปลาเป็นอาหาร และศัตรูในน้ำคือ ปลิงเห็บ ระฆัง ปลาชะโด ปลาปักเป้า และปลาช่อนปลาโสด ซึ่งปลาจำพวกนี้จะมาทำความเสียหายให้กระชังฉีกขาดได้ มีปัญหาปลาติดเชื้อจากฟาร์มที่นำส่งพันธุ์ปลา และปัญหาราคาตกต่ำเนื่องจากมีการแข่งขันสูง และแนวทางส่งเสริมการเลี้ยงปลาทับทิมกระชังน้ำในชุมชน โดยควรมีหน่วยงานรัฐสนับสนุน การขึ้นทะเบียนอาชีพผู้เลี้ยงปลาทับทิม ส่งเสริมการแปรรูป ส่งเสริมการเลี้ยงในลักษณะกลุ่มอาชีพ และการจับปลาในช่วงเวลาที่เหมาะสม |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://human.skru.ac.th/husoconference/conf/O38.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ปลาชังน้ำ : สถานการณ์การเลี้ยงปลาทับทิมกระชังน้ำในชุมชน กรณีศึกษา บ้านวัดใหม่ หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.