- ตวงทอง สรประเสริฐ
- 818 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการสาธารณะ ด้านการจัดการทรัพยากรการใช้ที่ดิน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุเพชร จิรขจรกุล |
คำสำคัญ | นวัตกรรมเพื่อสังคม;เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก;ผังเมืองรวม;กฎหมายการใช้ที่ดิน;ระบบคลาวด์ |
หน่วยงาน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรการใช้ที่ดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรการใช้ที่ดิน ให้เกิดเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองด้านระบบบริหารภาครัฐอัจฉริยะ และเพื่อผลักดันและขยายผลการนำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีไปเป็นแนวทางในการจัดทำเป็นนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจังหวัดใกล้เคียงอื่น ๆ ได้แก่ จันทบุรี และตราด องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ได้นำมาถ่ายทอดในครั้งนี้ได้ผ่านการสั่งสมประสบการณ์การทำงานวิจัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าและความไม่ทันสมัยของการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน จนได้เป็นผลผลิตที่ใช้ชื่อว่า “ระบบบูรณาการฐานข้อมูลด้านกฎหมายและนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินภาครัฐข้ามหน่วยงาน” ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแผนที่ด้านกฎหมายและนโยบายการใช้ที่ดินที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ บนเทคโนโลยี Web Map Service on Cloud Services สามารถเข้าถึงได้ที่เว็บไซต์ www.landusephuket.com หรือสำนักงานจังหวัดภูเก็ต www.phuket.go.th หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต www.phuketdol.go.thผลงานวิจัยชิ้นนี้ ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (ด้านสังคม) ประจำปี 2561 จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2561 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ดังนั้น กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ฯ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย จะช่วยผลักดันและกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ผลผลิตที่ได้ คือ ผู้ได้รับการถ่ายทอด ฯ จำนวนทั้งสิ้น 404 คน และการใช้งานระบบรวม 13,934 ครั้งผลลัพธ์ คือ ผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด และผู้บริหารระดับท้องถิ่น สามารถนำองค์ความรู้และนวัตกรรมจากโครงการนี้ไปเป็นแนวทางในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานพัฒนาระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัดได้ ตลอดจนเกิดความร่วมมือระหว่างส่วนราชการและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมร่วมกันในอนาคต |
สาขาการวิจัย |
|