ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาผลตอบสนองเชิงเวลาตัดศูนย์ของกระแสไฟฟ้าในเขตลวดที่เกิดจากโลหะโดยใช้การเหนี่ยวนำด้วยพัลส์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุทัศน์ แขกระจ่าง |
เจ้าของผลงานร่วม | ปุณยวีร์ จามจรีกุล |
คำสำคัญ | วงจรเปิด/ปิดพัลส์ให้แก่ขดลวด;การโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์;ผลตอบสนองเชิงเวลาตัดศูนย์ของกระแสไฟฟ้า;การเหนี่ยวนำาด้วยพัลส์;เครื่องตรวจจับโลหะ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาผลตอบสนองเชิงเวลาตัดศูนย์ของกระแสไฟฟ้า ในขดลวดที่เกิดจากโลหะโดยใช้การเหนี่ยวนำด้วยพัลส์ โดยมีเป้าหมายในการทำาวิจัย คือ 1) สร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำาหน้าที่เปิด/ปิดสัญญาณ PWM ให้แก่ขดลวดและ ส่งผ่านไปยังโลหะที่วางห่างออกไปไม่เกิน 15 ซม. ได้ 2) เขียนโปรแกรมไมโคร คอนโทรลเลอร์ AVR ATmega168 ให้สามารถควบคุมการทำงานและสร้างสัญญาณ PWM ที่มีความกว้างขนาดต่างๆ ในการทดสอบหาคุณลักษณะของโลหะแต่ละชนิดได้ 3) หาวิธีในการอ่านค่า จัดเก็บค่า และวิเคราะห์ผลการทดสอบ เพื่อที่จะสร้างกราฟที่ ระบุถึงผลตอบสนองเชิงเวลาตัดศูนย์ของกระแสไฟฟ้าในขดลวดที่เกิดจากโลหะแต่ละ ชนิดได้ และ 4) เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องตรวจจับโลหะในอนาคตต่อไป จาก การทดสอบ พบว่า วงจรเปิด/ปิดสัญญาณ PWM ให้แก่ขดลวดและโปรแกรมควบคุม การทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์สามารถทำงานตามที่ต้องการได้เป็นอย่างดีและ โลหะแต่ละชนิดให้เส้นกราฟผลตอบสนองเชิงเวลาตัดศูนย์ของกระแสไฟฟ้าในขดลวด ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยผลตอบสนองของโลหะแต่ละชนิด ณ ระยะห่างแต่ละค่า จะถูกอ่านค่าได้แน่นอนโดยไมโครคอนโทรลเลอร์และถูกนำามาพล็อตกราฟ ซึ่งกราฟ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/magazine/5phfnsaoly4g00.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การศึกษาผลตอบสนองเชิงเวลาตัดศูนย์ของกระแสไฟฟ้าในเขตลวดที่เกิดจากโลหะโดยใช้การเหนี่ยวนำด้วยพัลส์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.