ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลการกกลูกไก่เนื้อคุณภาพต่ำในโรงฟักก่อนการเลี้ยงเชิงอุตสาหกรรม ต่ออัตราการรอดระหว่างการขนส่ง สมรรถนะการผลิต และคุณภาพซาก
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี
เจ้าของผลงานร่วม พรพรรณ แสนภูมิ , อนัญญา ปานทอง
คำสำคัญ การกกไก่;โรงฟักไข่;อัตราการรอด;สมรรถนะการเจริญเติบโต;คุณภาพซาก;ลูกไก่เนื้อ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาผลการกกลูกไก่เนื้อคุณภาพต่ำจากโรงฟักก่อนการเลี้ยงเชิงอุตสาหกรรม ต่ออัตราการรอดและสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ โดยใช้ไก่พันธุ์ Ross 308 แบ่งเป็น 3 บล็อก 2 ปัจจัย โดยบล็อกคือ ฝูงไก่ที่เลี้ยงมีทั้งหมด 3 ฝูง ส่วนปัจจัย A คือ วิธีการกกลูกไก่เนื้อที่มีน้ำหนักเฉลี่ยน้อยกว่าปกติคือ น้อยกว่า 38 กรัมแบบ Hatchery Brood และวิธีการกกลูกไก่เนื้อที่มีน้ำหนักเฉลี่ยปกติคือ มากกว่า 38 กรัมด้วยวิธีธรรมดา ปัจจัย B คือ เพศ แบ่งเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ผลการทดลองพบว่า ไม่มีอิทธิพลร่วมระหว่างวิธีการกกลูกไก่เนื้อทั้งสองแบบ และเพศต่ออัตรา การรอด และสมรรถนะผลิตของไก่เนื้อ แต่จะพบว่าวิธีการกกลูกกไก่เนื้อที่มีน้ำหนักเฉลี่ยน้อยกว่าปกติแบบ Hatchery Brood จะช่วยลดอัตราการตายจากการขนส่งและเพิ่มอัตราการรอด น้ำหนักตัวต่อพื้นที่เมื่อสิ้นสุการทดลอง น้ำหนักตัวเฉลี่ยเทียบกับมาตรฐานน้ำหนักตัวที่เพิ่ม อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ปริมาณการกินได้เฉลี่ยต่อวัน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ รวมถึงดัชนีประสิทธิภาพการผลิต ได้เทียบเท่าวิธีการกกลูกไก่เนื้อที่มีน้ำหนักเฉลี่ยปกติคือ มากกว่า 38 กรัมแบบ Normal Brood หากแต่จะพบค่าความแตกต่างกันของอัตราการตายจากการขนส่ง น้ำหนักตัวเฉลี่ยเทียบกับมาตรฐาน น้ำหนักตัวที่เพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ระหว่างฝูงของไก่เนื้อที่เลี้ยงและเพศ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=01O-ANI-022.pdf&id=830&keeptrack=9
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลการกกลูกไก่เนื้อคุณภาพต่ำในโรงฟักก่อนการเลี้ยงเชิงอุตสาหกรรม ต่ออัตราการรอดระหว่างการขนส่ง สมรรถนะการผลิต และคุณภาพซาก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง