- วิภากรณ์ อรุณปลอด
- 326 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | มิติทางวัฒนธรรมสีในจิตรกรรมไทยสู่จินตนาการการออกแบบความศรัทธา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผศ.ดร.ยุวดี พรธาราพงศ์ |
คำสำคัญ | มิติทางวัฒนธรรมสีในจิตรกรรมไทย;จินตนาการความศรัทธ |
หน่วยงาน | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | งานวิจัย เรื่อง มิติทางวัฒนธรรมสีในจิตรกรรมไทยสู่จินตนาการการออกแบบความศรัทธามีวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ชุดสีที่ปรากฏในงานจิตรกรรม ฝาผนังซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงมิติทางวัฒนธรรมสีในจิตรกรรมไทยที่สื่อถึงความหมายของ ความศรัทธาและจัดทําฐานข้อมูลชุดสีแบบไทย เพื่อวิเคราะห์เทียบมาตรฐานของชุดสีแบบไทยตามระบบสีแบบสากล เพื่อส่งเสริมหลักการใช้สีแบบไทยในด้านงานออกแบบซึ่งองค์ความรู้ที่ได้นํามาสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบ แสดงออกถึงจินตนาการการออกแบบความศรัทธาจากการศึกษาใช้วิธีการคัดเลือกภาพจิตรกรรมฝาผนัง จํานวน 5 ภาพ ไล่ลําดับช่วงเวลาเพื่อแสดงถึงมิติของเวลา และวัฒนธรรมการใช้สี ซึ่งบ่งบอกถึงคุณค่าและแบบอย่างที่สําคัญแล้วนํามาวิเคราะห์เป็นองค์ความรู้ และสังเคราะห์เป็นแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน พบว่าหลักการใช้สีในจิตรกรรมฝาผนังมีรูปแบบและความเชื่อต่อเนื่องกันมา แต่ละยุคสมัยแสดงความเป็นคตินิยม ความเชื่อ เอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการใช้สีโดยรวม เป็นสีเอกรงค์ในยุคสมัยอยุธยาและสีพหุรงค์ วรรณะสีอุ่น ในสมัยรัตนโกสินทร์ สีที่มีความสําคัญและสร้างเอกลักษณ์ความเป็นยุคสมัย คือ หมวดสีแดง ที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ความมีพลัง หมวดสีขาวทีÉแสดงถึงความสงบจิตใจที่บริสุทธิ์ หมวดสีดําในการสื่อถึงสภาวะแห่งสวรรค์หรือจักรวาล และการใช้สีทองในการสื่อถึงพระพุทธเจ้า ความศักดิ์ สิทธิ์ ซึ่งการผสมผสานของสีที่ปรากฏให้เห็นในจิตรกรรมฝาผนังภายในวัด แสดงให้เห็นถึงความรักและความศรัทธาที่เกิดจากการเข้าถึงพระพุทธศาสนาการจัดทําชุดสีแบบไทย แสดงให้เห็นหลักการใช้สี ทั้งหมดด้วยกัน 6 หมวดสี สีในแต่ละหมวดจะแสดงปริมาณของสีที่ใช้ ซึ่งความสัมพันธ์ของสีมีความหมายเป็นคู่หมวดสีที่ใช้ร่วมกันในการสร้างผลงาน เพื่อให้เกิดการประสานกลมกลืนกันของเรื่องราว เนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมาย ซึ่งผู้วิจัยค้นพบว่า หมวดสีที่สื่อความหมายความศรัทธาไม่ใช่เป็นเพียงหมวดสีสีเดียวแต่เป็นการใช้หมวดสีร่วมกัน 2 หมวดสี ขึ้นไปและปริมาณการใช้อาจมีปริมาณที่เท่ากัน หรือปริมาณต่างกันแต่ไม่มากนัก ซึ่งเป็นกระบวนการใช้สีที่สะท้อนถึงบุคลิกภาพแบบไทยๆ บ่งบอกถึงภูมิปัญญาและจิตวิญญาณไทยการนําชุดสีแบบไทยมาสร้างผลงานการออกแบบความศรัทธาในมิติใหม่ โดยการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมและงานสื่อผสม หลักการสร้างสรรค์ผลงานเป็นไปในการแสดงออกของชุดสีแบบไทย ซึ่งคุณค่าและความหมายแสดงออกในมุมมองจินตนาการ สื่อความหมายถึงพลังของสีจากความศรัทธาประโยชน์ของการศึกษาในครั้งนี้ก่อให้เกิดองค์ความรู้เรื่องของชุดสีแบบไทย ที่สามารถนําองค์ความรู้ ไปต่อยอดในการสร้างสรรค์ศิลปะและการออกแบบ และเพื่อสร้างแรบันดาลใจในการส่งเสริมการใช้สีแบบไทยที่แสดงเอกลักษณ์และสะท้อนตัวตนของความเป็นไทย |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/177864 |
สาขาการวิจัย |
|
มิติทางวัฒนธรรมสีในจิตรกรรมไทยสู่จินตนาการการออกแบบความศรัทธา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.