- วีณา จิรัตฐิวรุตม์กุล ชัยสาร
- 459 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การผลิตโพลีโคลนอลแอนติซีรัมที่จำเพาะต่อ Streptomyces-PR15 และการใช้ตรวจติดตามเชื้อรอบผิวรากต้นกล้าพริก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วีรกรณ์ แสงไสย์ |
เจ้าของผลงานร่วม | เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล |
คำสำคัญ | ELISA;polyclonal;antiserum;จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตมัยซีส-PR15 (Streptomyces -PR15) เป็นแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีฤทธิ์กว้างใช้ควบคุมทั้ง เชื้อรา และแบคทีเรียสาเหตุโรคที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาเทคนิค ELISA สำหรับใช้ตรวจติดตามเชื้อ Streptomyces-PR15 ในชีวภัณฑ์ และในสภาพแวดล้อมต้นพืช จึงได้ผลิตแอนติบอดีที่จำเพาะกับเชื้อ Streptomyces-PR15 โดยการฉีดแอนติเจนที่เตรียมจากเซลล์เชื้อ Streptomyces-PR15 ที่ทำให้เซลล์แตกด้วย ultrasonicator นำไปผสมกับ Freund’s incomplete adjuvant ฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อขาหลังของกระต่ายสีขาวพันธุ์นิวซีแลนด์ ไวท์ จำนวน 3 ครั้ง จากนั้นฉีดเฉพาะแอนติเจนเข้าเลือดกลางใบหู 2 ครั้ง เก็บเลือดจำนวน 8 ครั้ง หลังจากเก็บเลือดครั้งที่ 8 แล้วจึงฉีดกระตุ้นซ้ำด้วยแอนติเจน เข้าบริเวณเส้นเลือดกลางใบหู 1 ครั้ง หลังจากนั้น 10 วัน จึงเก็บเลือด 2 ครั้งพบว่า แอนติซีรัมที่ผลิตได้มีค่า titer สูงสุดเป็น 1:200,000 ในสัปดาห์ที่ 7 และ 10 มีความไวในการตรวจหาโปรตีนจากเซลล์เชื้อ Streptomyces-PR15 ไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกับเชื้อปฏิปักษ์ Streptomyces-PR13, Streptomyces-PR22,Streptomyces-PR33, Bacillus spp., แบคทีเรียจากผิวใบพืช แบคทีเรียแยกจากดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช แต่มีความสัมพันธ์ทางเซรุ่มวิทยาปานกลางกับเชื้อ Streptomyces ปฏิปักษ์ 3 ไอโซเลต เมื่อนำไปตรวจหาเชื้อ Streptomyces-PR15 บริเวณผิวรากของต้นกล้าพริก พบว่าสามารถตรวจพบเชื้อ Streptomyces-PR15 ได้ที่ระดับ 104 cfu/ml |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=37O-PHATO-064.pdf&id=866&keeptrack=10 |
สาขาการวิจัย |
|
การผลิตโพลีโคลนอลแอนติซีรัมที่จำเพาะต่อ Streptomyces-PR15 และการใช้ตรวจติดตามเชื้อรอบผิวรากต้นกล้าพริก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.