ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การสื่อสารอัตลักษณ์และบทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ปรีดาพร ศรีเมือง |
คำสำคัญ | ลิเกไทใหญ่;การสื่อสารอัตลักษณ์;บทบาททางสังคม |
หน่วยงาน | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | องค์ประกอบของการแสดงลิเกไทใหญ่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงลิเกไทใหญ่ กลุ่มผู้ชม และนักวิชาการไทใหญ่ พบว่า 1. องค์ประกอบในการแสดงลิเกไทใหญ่ คือ ขั้นตอนการแสดง, เครื่องดนตรีและเพลง, ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงและการแสดง, สถานที่ฉากและเวที, ช่วงเวลา/โอกาสของการแสดง, เครื่องแต่งกาย, ความรู้เกี่ยวกับลิเกไทใหญ่, ข้อห้ามและความเชื่อ, การร้องโดยใช้ภาษาถิ่นไทใหญ่, การไหว้ครู, ความเชื่อเรื่องเทพสรัสวดี และความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง 2. อัตลักษณ์ของการแสดงลิเกไทใหญ่ คือ อัตลักษณ์ด้านบทเพลง, ด้านภาษา, ด้านสุนทรีย์, ด้านการแต่งกาย, ด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน และ ด้านความเป็นชนกลุ่มน้อยที่รักประเทศชาติ 3. บทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่ คือ บทบาทในการพัฒนาตัวเอง, การยกระดับสถานภาพบุคคลในสังคม, การเป็นสื่อในการเห็นตนเองและผู้อื่น, การสร้างความทรงจำร่วมกัน, การสร้างความสามัคคี, การให้ความบันเทิง, การให้ข้อมูลข่าวสาร, การอบรมสั่งสอน, การเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม, การะท้อนตัวตนและอัตลักษณ์ท้องถิ่น, การรณรงค์ และการเป็นพื้นที่ยึดโยงสื่อพื้นบ้านอื่นๆ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/60034/1/5784666928.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การสื่อสารอัตลักษณ์และบทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.