- ศิริลักษณ์ หล่อพันธ์มณี
- 375 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของความถี่ และจังหวะของดนตรีพื้นหลังต่อการรับรู้การผ่านไปของเวลา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ปวีย์ เพชรรักษ์ |
เจ้าของผลงานร่วม | ภูริพันธุ์ รุจิขจร |
คำสำคัญ | ดนตรี;เสียงดนตรี;การพัฒนาซอฟต์แวร์ |
หน่วยงาน | คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างไม่ชอบการรอคอยที่ต้องใช้เวลานาน เสียงดนตรีสามารถเข้ามาช่วยทำผู้ใช้รู้สึกใช้เวลารอคอยสั้นกว่าเดิม โดยการศึกษานี้นำเสียงมาใช้ร่วมกับแถบแสดงความก้าวหน้า มุ่งศึกษาไปที่เรื่องของความถี่และจังหวะของดนตรีพื้นหลัง การศึกษานี้ประกอบด้วย การทดลองแรกเป็นการประเมินเวลา และการทดลองที่สองเป็นการเปรียบเทียบการรับรู้ถึงระยะเวลาในการรอคอย การทดลองทั้งสองแสดงให้เห็นว่า เสียงดนตรีทำให้การรับรู้การผ่านไปของเวลาแตกต่างกันเมื่อทำการเปรียบเทียบ เช่น เสียงดนตรีทำให้คนรู้สึกว่ารอคอยสั้นกว่าการไม่ใช้เสียงอะไรเลย เป็นต้น นอกจากนั้นแสดงให้เห็นว่าการนำความถี่และจังหวะของเสียงมาช่วยในการออกแบบเสียงดนตรีมีผลต่อการรับรู้การผ่านไปของเวลาแตกต่างกันหลายระดับ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/58425/1/5881542226.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ผลของความถี่ และจังหวะของดนตรีพื้นหลังต่อการรับรู้การผ่านไปของเวลา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.