ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ดารารัตน์ ภูธร |
เจ้าของผลงานร่วม | พิรงรอง รามสูต |
คำสำคัญ | ดิจิทัลเนทีฟไทย;ลิขสิทธิ์;การ์ตูนออนไลน์;แอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์ |
หน่วยงาน | คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นดิจิทัลเนทีฟในกรุงเทพมหานครที่มีคุณลักษณะตามที่ผู้วิจัยกำหนด คือ เป็นผู้ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์ พบว่า การ์ตูนมีการพัฒนาจากกระดาษสู่รูปแบบดิจิทัลจึงทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายผ่านอินเทอร์เน็ตและทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ได้ง่ายเช่นกัน ดิจิทัลเนทีฟไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์ดังนี้ 1) การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือดาวน์โหลดจากแหล่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 2) การดัดแปลงข้อมูลโดยการแปลและแก้ไขข้อมูลต้นฉบับ 3) การเผยแพร่ต่อสาธารณชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 คนมีความตระหนักรู้ในเรื่องลิขสิทธิ์ มีการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย คือ ผู้ผลิตและผู้บริโภคผลงานการ์ตูนละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ อีกทั้งดิจิทัลเนทีฟไทยยังมีการต่อรองกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะผู้บริโภคโดยสร้างพื้นที่สมมติขึ้นมา เรียกว่า “พื้นที่สีเทา” เป็นการสร้างความหมายและการตีความขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการต่อรองให้การกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวยังเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และดิจิทัลเนทีฟไทยที่บริโภคการ์ตูนออนไลน์มีการรวมตัวกันในลักษณะที่เรียกว่าชุมชนออนไลน์ สร้างกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการกำกับดูแลซึ่งกันและกันไม่ต่างไปจากสังคมในโลกแห่งความเป็นจริง เรียกว่า “ข้อตกลงร่วมกัน” เพื่อให้คนในสังคมสามารถบริโภคการ์ตูนออนไลน์ได้ต่อไปโดยยังตระหนักเรื่องลิขสิทธิ์ เช่น บริโภคการ์ตูนออนไลน์ต่อเมื่อเรื่องดังกล่าวยังไม่มีลิขสิทธิ์ในไทย เป็นต้น |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/60033/1/5784662328.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.