ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุชาวไทย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ธนาวุฒิ ตรงประวีณ |
เจ้าของผลงานร่วม | วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ |
คำสำคัญ | สีผนังห้องนอน;ผู้สูงอายุชาวไทย |
หน่วยงาน | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาคุณลักษณะวรรณะของสีและสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอน การเก็บรวบรวมตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านพักคนชราและอาศัยที่บ้านพักส่วนบุคคล งานวิจัยนี้ประเมินระดับการตอบสนองทางอารมณ์ของกลุ่มตัวอย่างในประเด็นความพึงพอใจ การตื่นตัว และความเครียด รวมถึงการรับรู้ความสว่าง และประเมินความเครียดโดย 2 วิธีหลัก ได้แก่ The Affect Grid Scale of Pleasure and Arousal ของ Russell, Weiss & Mendelsohn (1989) และ The Semantic Differential Rating Method (SDR) โดยการมองภาพจำลองคอมพิวเตอร์ 17 ภาพ ที่มีความแตกต่างกันทางด้าน วรรณะของสี สี และสัดส่วนความสดของสี พบว่า วรรณะของสี เนื้อสี และสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอนส่งผลต่อการตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุ โดยสีผนังห้องนอนวรรณะเย็นส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกเครียดน้อยกว่าสีวรรณะร้อน สัดส่วนความสดของสีอ่อนต่อสีเข้มที่เพิ่มขึ้นแปรผันตามความรู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังพบว่าความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุแปรผกผันกับความพึงพอใจต่อสีผนังของห้องนอน โดยผู้สูงอายุพึงพอใจสีผนังห้องนอนวรรณะเย็นมากกว่าวรรณะร้อน และสีผนังห้องนอนที่มีความรู้สึกสว่างที่น้อยลงส่งผลให้เกิดความรู้สึกเครียดที่มากขึ้น สรุปได้ว่าวรรณะสีและสัดส่วนความสดของสีผนังห้องนอนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความรู้สึกเครียดของผู้สูงอายุ และเสนอแนะว่าผู้ออกแบบควรเลือกใช้สีที่ส่งเสริมความรู้สึกเชิงบวกของผู้สูงอายุ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60169 |
สาขาการวิจัย |
|
อิทธิพลของสีในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุชาวไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.