- อ้อยใจ พรมศรี
- 447 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผลของสารพอกและวัสดุประสานต่างชนิดกัน ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็ก |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นงนุช แสงหิน |
เจ้าของผลงานร่วม | บุญมี ศิริ |
คำสำคัญ | การพอกเมล็ดพันธุ์;การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์;คุณภาพเมล็ดพันธุ์ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การเพิ่มขนาดของเมล็ดข้าวโพดไร่ขนาดเล็กโดยวิธีการพอกเมล็ด โดยศึกษาชนิดของสารพอก วัสดุประสาน และอัตราส่วนของสารพอกที่เหมาะสมในการพอกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็ก โดยนำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็ก ที่ค้างบนตะแกรงขนาด (14/64 นิ้ว) มาพอกด้วยวัสดุพอกที่แตกต่างกัน 7 ชนิดคือ Vermiculite, bentonite, pumice, calcium sulphate, calcium carbonate, charcoal และขุยมะพร้าว ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันร่วมกับวัสดุประสาน 4 ชนิด คือ hydroxypropyl methylcellulose (HPMC), gum arabic, carboxymethyl cellulose (CMC power) และ methyl cellulose จากนั้นนำเมล็ดที่ผ่านการพอกมาตรวจสอบลักษณะต่าง ๆ คือความสม่ำเสมอของการพอก น้ำหนักเมล็ดพันธุ์ การละลายของสารพอก ความเป็นกรด-ด่าง เปอร์เซ็นต์ความงอก และความเร็วในการงอก ผลการทดลองพบว่า สารพอกสูตร bentonite ผสมกับ charcoal ร่วมกับวัสดุ ประสานคือ HPMC ทำให้ความงอกและความเร็วใน การงอกของเมล็ดข้าวโพดไร่สูงที่สุด คือ 99 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ผ่านการพอกและวัสดุพอกชนิดอื่น ๆ และมีความเร็วในการงอกสูงที่สุด |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=44O-AGRO-049.pdf&id=873&keeptrack=11 |
สาขาการวิจัย |
|
ผลของสารพอกและวัสดุประสานต่างชนิดกัน ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่ขนาดเล็ก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.