ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การประยุกต์การรับรู้ระยะไกลเพื่อศึกษาอิทธิพลของพื้นที่สีเขียวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิพื้นผิว กรณีศึกษา เทศบาลนครสวรรค์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นราธิป เพ่งพิศ
เจ้าของผลงานร่วม วรรธนนันท์ ใจสะอาด , ไชยา อู๋ชนะภัย
คำสำคัญ การรับรู้จากระยะไกล;อุณหภูมิพื้นผิว;พื้นที่สีเขียว
หน่วยงาน สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การประยุกต์การรับรู้จากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับประมาณค่าอุณหภูมิพื้นผิวและสัดส่วนของพืชพรรณที่ปกคลุมดินจากดัชนีพืชพรรณ NDVI โดใช้ข้อมูลดาวเทียมLandsat –8 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวกับสัดส่วนของพืชพรรณที่ปกคลุมดินรวมถึงอิทธิพลของพื้นที่สีเขียวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลนครสวรรค์มีค่าสัดส่วนของพืชพรรณที่ปกคลุมดิน 0.4323 หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 43.23 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมดและมีค่าอุณภูมิพื้นผิวเฉลี่ย 27.25 องศาเซ็ยเซียส ซึ่งพื้นที่ชุมชนเมืองและสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่มีอุณหภูมิมากกว่าอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย และมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่เกษตรกรรม เมื่อศึกษาความสัมพันธ์พบว่า สัดส่วนของพืชพรรณที่ปกคลุมดินมีความสัมพันธ์ทางลบกับอุณหภูมิพื้นผิวมีค่าสหสัมพันธ์(R)-0.8610 และมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ(R2) 0.7413 ที่ระดับ0.01 สามารถอธิบายอิทธิพลของพื้นที่สีเขียวว่าถ้าพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยก็จะลดในทิสทางตรงข้าม เมื่อทำนายอุณหภูมิพื้นผิวจากสมการถดถอยเชิงพบว่า เทศบาลนครสวรรค์ไม่มีพื้นที่สีเขียว อุณหภูมิพื้นผิวจะเพิ่มขึ้นเป็น 30.21 องศาเซลเซียสแต่หากพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิพื้นผิวจะลดลงเป็น 26.32 องศาเซลเซียส ซึ่งมีค่าคลาดเคลื่อน RMSE ของสมการ0.38 องศาเซลเซียส
ข้อมูลเพิ่มเติม https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tstj/article/view/173355/165386
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
Creative Commons License


การประยุกต์การรับรู้ระยะไกลเพื่อศึกษาอิทธิพลของพื้นที่สีเขียวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิพื้นผิว กรณีศึกษา เทศบาลนครสวรรค์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง