ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การผลิตกุ้งส้มบรรจุในภาชนะปิดที่ผ่านการแปรรูปด้วยความร้อน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ชุตินุช สุจริต |
เจ้าของผลงานร่วม | ไวกูณฐ์ ฤทธิรุฒม์ |
คำสำคัญ | กุ้งส้ม;การแปรรูปด้วยความร้อน |
หน่วยงาน | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อกุ้งส้ม พบว่า โดยส่วนมากผู้บริโภคจะรับประทานกุ้งส้มแบบผสมลงไปในอาหารเพื่อปรุงสุกและยำสด วิธีดั้งเดิมในการผลิต 9 สูตร พบว่า สูตรที่ 2 เกลือ : น้ำตาล (ร้อยละ 6.5 : ร้อยละ 30) ผู้บริโภคให้การยอมรับมากที่สุด รองลงมาคือ สูตรที่ 4 เกลือ : น้ำตาล (ร้อยละ 7.5 : ร้อยละ 20) โดยผู้บริโภคจะพิจารณาลักษณะปรากฏ สี กลิ่น และรสชาติ การผลิตกุ้งส้มโดยใช้กล้าเชื้อบริสุทธิ์ คือ Lactobacillus plantarum และ Pediococcus sp. พบว่า กุ้งส้มที่ผลิตโดยใช้เชื้อ Lactobacillus plantarum มีลักษณะปรากฏ สีกลิ่น และรสชาติที่ดีกว่ากุ้งส้มที่ผลิตโดยใช้เชื้อ Pediococcus sp. และกุ้งส้มที่ผลิตโดยใช้เชื้อ Lactobacillus plantarum เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด กุ้งส้มที่เก็บที่อุณภูมิตู้เย็นมีลักษณะภายนอกดีกว่ากุ้งส้มที่เก็บอุณหภูมิห้อง แต่กุ้งส้มที่เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องมีกลิ่นและรสชาติดี และกุ้งส้มที่ผลิตโดยวิธีดั้งเดิมมีคุณลักษณะที่ดีกว่ากุ้งส้มที่ผลิต โดยใชกล้าเชื้อบริสุทธิ์ในทั้งอุณหภูมิห้องและอุณหภูมิตู้เย็น กุ้งส้มเมื่อนำมาผ่านกระบวนการความร้อนโดยบรรจุในภาชนะขวดแก้วและบรรจุกระป่อง พบว่า เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางด้านจุลินทรีย์ทางเคมีและทางกายภาพ อยู่ในจากเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกุ้งส้ม 1032/2546 |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://fishtech.rmutsv.ac.th/fishtech/sites/default/files/files/2557/SAR56/FISHTECH%201.0.3-4-01.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
การผลิตกุ้งส้มบรรจุในภาชนะปิดที่ผ่านการแปรรูปด้วยความร้อน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.