ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง เพ่งมองเสรีภาพในการสื่อสารผ่านหนังสือประวัติศาสตร์ปัตตานี
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พีรยุทธ โอรพันธ์
เจ้าของผลงานร่วม สุรพงษ์ โสธนะเสถียร , นิศา ชูโต
คำสำคัญ การทลายกรอบ;หลังโครงสร้างนิยม;เสรีภาพในการสื่อสาร;ปัตตานี;ประวัติศาสตร์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาวรรณกรรมประวัติศาสตร์ของชาวมลายูปัตตานี เรื่อง Pengantar Sejarah Patani ฉบับดั้งเดิมเขียนเป็นภาษามลายูอักษรรูมิไนซ์โดย Ahmad Fathy al-Fatani ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1994 ซึ่งต่อมาได้ถูกแปล เรียบเรียง และตีพิมพ์เป็นไทยในชื่อ ประวัติศาสตร์ปัตตานี จากการศึกษาโดยใช้แนวทางการทลายกรอบสามารถค้นพบมโนทัศน์สำคัญที่ได้จากการอ่านได้แก่ ความเป็นปัตตานี ความเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย ความเจริญรุ่งเรือง ความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ความชอบธรรมของผู้ปกครอง การยอมรับอำนาจรัฐ สิทธิและหน้าที่ ความเป็นพวกพ้องเดียวกัน การผสมกลมกลืน และเสรีภาพในการสื่อสาร บทความนี้ได้หยิบยกมโนทัศน์ว่าด้วยเรื่องของเสรีภาพในการสื่อสาร โดยแสดงให้เห็นคู่ตรงข้ามที่ดำรงอยู่ในมโนทัศน์ดังกล่าว และค้นหาร่องรอยที่ได้จากตัวบทที่ถูกให้ความสำคัญน้อยกว่า (marginal text) ที่สามารถสะท้อนให้เห็นว่า คู่ตรงข้ามที่ดำรงอยู่นั้นไม่ใช่สิ่งคงที่ตายตัวแต่สามารถถูกทำให้กลับด้าน (reverse) และแทนที่ (displace) ได้
ข้อมูลเพิ่มเติม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/53140/44151
สาขาการวิจัย
  • มนุษยศาสตร์
Creative Commons License


เพ่งมองเสรีภาพในการสื่อสารผ่านหนังสือประวัติศาสตร์ปัตตานี is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง