ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของระยะเวลาการหมักด้วย Aspergillus oryzae ต่อไฟเตท ในกากงาดำสกัดเย็น
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง กาญจนา บันสิทธิ์
เจ้าของผลงานร่วม อริยาภรณ์ พงษ์รัตน์ , ธีระพล บันสิทธิ์ , นิภาพรรณ สิงห์ทองลา , วิชาญ แก้วเลื่อน
คำสำคัญ กากงาดำสกัดเย็น;การหมัก;Aspergillus oryzae
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย กากเมล็ดงาดำสกัดเย็นจากการสกัดน้ำมันด้วยเครื่องบีบอัดขนาดเล็ก เป็นผลพลอยได้ที่มีโภชนะหลายชนิดคงเหลืออยู่มาก โดยเมล็ดมีสภาพการแตกป่นน้อยและไม่มีกลิ่นไหม้ พบว่ามีโปรตีน ไขมัน เยื่อใย และฟอสฟอรัสทั้งหมด จำนวน 34.96%, 22.58%, 8.26%, และ 0.92% และมีไฟเตท 20.22 มก./ก. การทดลองผลของระยะเวลาการหมักด้วย Aspergillus oryzae ต่อปริมาณไฟเตทในกากงาดำสกัดเย็น โดยใช้สารละลายสปอร์เพาะเลี้ยงบนกากงาดำ สกัดเย็นนาน 6 วัน แล้วเติมน้ำเกลือ 20% ปริมาณ 2 เท่าของกากงา หมักต่อเป็นเวลา 5 ช่วงอายุคือ 0, 4, 8, 12 และ 16 สัปดาห์ พบว่าคุณค่าทางโภชนะหลังอบแห้งมีค่าเฉลี่ยของโปรตีน ไขมัน เยื่อใย และเถ้าทั้งหมดรวมเกลือ เท่ากับ 9.6+0.23, 16.02+0.6, 8.87+1.03 และ 59.37+1.16 % และพบว่า ปริมาณของไฟเตทที่อายุหมัก 16 สัปดาห์มี ค่าลดลงมากที่สุด ผลจากเกลือช่วยรักษาคุณภาพของกากงาหมัก และทำให้เอ็นไซม์ไฟเตทไม่เกิดการเน่าเสีย จึงสามารถทำงานย่อยไฟเตทต่อได้และมีผลทำให้ไฟเตทลดลง แต่ต้องจำกัดปริมาณการนำไปใช้เพราะกากงาหมักเมื่อแห้งมีเกลือสูงถึง 50%
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=61P-ANI-001.pdf&id=890&keeptrack=8
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลของระยะเวลาการหมักด้วย Aspergillus oryzae ต่อไฟเตท ในกากงาดำสกัดเย็น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง