ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การบูรณาการการออกแบบสื่อวัฒนธรรมทางทัศน์ ประกอบพิพิธภัณฑสถานพื้นบ้านภาคใต้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้บนฐานชุมชน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พรพิมล ศักดา
คำสำคัญ การบูรณาการการออกแบบ;สื่อวัฒนธรรมทางทัศน์;พิพิธภัณฑสถานพื้นบ้านภาคใต้;ส่งเสริมการเรียนรู้บนฐานชุมชน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อการบูรณาการการออกแบบสื่อวัฒนธรรมทางทัศน์ประกอบพิพิธภัณฑสถานพื้นบ้านภาคใต้ เพื่อสร้างต้นแบบการบูรณาการการออกแบบฯ และเพื่อประเมินผลต้นแบบการบูรณาการการออกแบบฯ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ โดยแบบแผนการวิจัยผสมผสานวิธี ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ พื้นที่เป้าหมายตามเกณฑ์คือ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีความพร้อมด้านอาคารและสถานที่ รวมทั้งมีสิ่งของที่ใช้ในการจัดแสดง และวัตถุที่ใช้ในการจัดแสดงเหมาะสมใช้ประกอบการออกแบบ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.อัตลักษณ์ร่วมพื้นถิ่นภาคใต้ คือ มโนราห์ หนังตะลุง ประเพณีชักพระ/ลากพระ ประเพณีสารทเดือนสิบ และผักเหนาะ และอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นเมืองไชยา ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา ผ้าไหมพุมเรียง ไข่เค็มไชยา พระพุทธรูปนาคปรก พระอวโลกิเตศวร พระพุทธทาสภิกขุ สวนโมกขพลาราม และมวยไชยา โดยวิธีการถอดอัตลักษณ์ คือ 1. การเปลี่ยนภาพลายเส้นสู่ภาพเงาอัตลักษณ์ที่มีรูปร่าง 2 มิติ 2. การจัดรูปร่างเพื่อให้เกิดรูปร่างใหม่จากการหมุน การพลิก การบิด การรวมการแยกย่อย 3. การเรียง การทำซ้ำรูปร่าง ให้เกิดลวดลายหรือลวดลายใหม่4. รูปร่างใหม่ที่เกิดขึ้นจากการตัดกันของรูปร่าง และ5. วนซ้ำ สู่การเรียงลวดลายและการตัดกันของรูปร่าง จนกลับมาที่รูปร่างเดิมหรือได้ฐานข้อมูลรูปร่างที่เพียงพอต่อการใช้ในการออกแบบ 2. การบูรณาการการออกแบบสื่อวัฒนธรรมทางทัศน์ประกอบพิพิธภัณฑสถานพื้นบ้านภาคใต้ มีแนวคิดในการออกแบบ จากการนำวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมโดยรอบที่เป็นเอกลักษณ์ นำเสนอแก่นเรื่องราวแทนการเน้นแต่วัตถุ ประกอบด้วย ส่วนนิทรรศการและงานตกแต่ง ได้แก่ ระบบสัญจรในส่วนจัดแสดง การจัดวางและเนื้อหาการจัดแสดงที่มีการนำเสนอเรื่องราวที่ถูกจัดเรียงลำดับเนื้อหาที่เชื่อมโยงกัน งานตกแต่งประกอบนิทรรศการ (วัสดุกราฟิก และวัสดุ 3 มิติ) และระบบป้ายและสัญลักษณ์ ได้มีการใช้เทคโนโลยี QR CODE และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) มาประกอบ ดังนั้นรูปแบบจึงมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้งาน และสามารถเป็นสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนที่จะนำไปสู่การเรียนรู้อย่างยั่งยืนในชุมชน และสามารถนำไปเป็นต้นแบบในประยุกต์ใช้ในพื้นที่ภาคใต้ได้ต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/184055/164749
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านวิชาการ
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
Creative Commons License


การบูรณาการการออกแบบสื่อวัฒนธรรมทางทัศน์ ประกอบพิพิธภัณฑสถานพื้นบ้านภาคใต้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้บนฐานชุมชน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง