ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งในเด็กวัยเรียน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ชลิญา เพ็ชรเหมือน |
คำสำคัญ | การควบคุมยับยั้ง;NLP;การยั้งคิด;การลดพฤติกรรมในเด็ก;ลดปัญหาเด็กวัยเรียน;หน้าที่บริหารจัดการของสมอง;INHIBITORY CONTROL |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยบูรพา |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งด้วยเอ็น แอล พี ในเด็กวัยเรียน และเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนกลุ่มทดลอง มีการควบคุมยับยั้งหลังทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ย Commission error ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย Reaction time สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีการควบคุมยับยั้งหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ย Commission error หลังทดลองต่ำกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ย Reaction time หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าโปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งด้วยเอ็น แอล พี ในเด็กวัยเรียนสามารถเพิ่มการควบคุมยับยั้งของนักเรียนชั้นประถมศึกษาได้ |
สาขาการวิจัย |
|
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งในเด็กวัยเรียน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.