ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราต่อการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคของข้าว
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง อนันต์ วงเจริญ
คำสำคัญ โรคเมล็ดด่าง;โรคไหม้;โรคกาบใบแห้ง;ความต้านทานสารเคมีกำจัดเชื้อรา tricyclazole
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การประเมินผลของสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราทั้งแบบดูดซึม ได้แก่ carbendazim (500 µg/ml) tricyclazole (375 µg/ml) thiophanate-methyl (700 µg/ml) และ difenoconazole (0.25 µl/ml) และสารเคมีแบบสัมผัสได้แก่ edifenphos (0.768 µl/ml) mancozeb (2,000 µg/ml) copper hydroxide (770 µg/ml) และ iprodione (500 µg/ml) ต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคข้าวที่สำคัญได้แก่ Curvularia lunata (CUR) Bipolaris oryzae (BIPO) Bipolaris sp. ไอโซเลต BSK1 (BIP), Fusarium sp. ไอโซเลต FSK1 (FUS1) และไอโซเลต FSK2 (FUS2) สาเหตุโรคเมล็ดด่าง Magnaporthe grisea (MAG) สาเหตุโรคไหม้ และ Rhizoctoniasolani (RHI) สาเหตุโรคกาบใบแห้ง ทดสอบโดยเลี้ยงเชื้อบนอาหารที่ผสมสารเคมี พบว่า สารแบบดูดซึมที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ CUR BIPO และ BIP ดีที่สุดได้แก่ difenoconazole โดยมีการยับยั้งเท่ากับ 95, 100 และ 90% ส่วนสารแบบสัมผัสที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ CUR BIPO และ BIP ได้ 100% ได้แก่ mancozeb และ iprodione สารที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ FUS1 และ FUS2 เท่ากับ 100% ได้แก่ carbendazim thiophanate-methyl และ mancozeb สารที่ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา MAG เท่ากับ 100% ได้แก่ carbendazim thiophanate-methyl difenoconazole edifenphos และ mancozeb สารเคมีที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ RHI เท่ากับ 100% ได้แก่ carbendazim thiophanate-methyl edifenphos mancozeb และ iprodione
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=88P-PHATO-0581.pdf&id=921&keeptrack=13
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลของสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราต่อการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคของข้าว is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง