ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ซอร์พชันไอโซเทอมของความชื้นของชาสมุนไพรปัญจขันธ์ (Gynostermmapentaphyllum (Thunb.) Makino)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง สุดาทิพย์ อินทร์ชื่น
คำสำคัญ ปัญจขันธ์;ซอร์พชันไอโซเทอมของความชื้น
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การหาแบบจำลองซอร์พชันของความชื้นที่มีความเหมาะสมสำหรับใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของปริมาณความชื้นและค่า aw ระหว่างชาปัญจขันธ์กับอากาศโดยรอบในระหว่างการเก็บชาไว้ที่อุณหภูมิห้อง (~30 ºC) และที่ค่า aw ระหว่าง 0.113-0.976 นำข้อมูลของความชื้นและ aw ที่วัดได้มาหาความสัมพันธ์ในรูปแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ 10 แบบจำลองได้แก่ แบบจำลองของ Oswin, Caurie, Lewicki-2, Smith, BET, Haslay, Henderson, GAB, Lewicki-3 และ Peleg ประเมินหาค่าสัมประสิทธิ์ต่าง ๆ ของแบบจำลองด้วยการวิเคราะห์การถดถอย ตรวจสอบหาแบบจำลอง ที่มีความเหมาะสม โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การประเมิน (coefficient of determination, R2) ค่า Reduced chi-square (χ2) และ Root mean square error (RMSE) โดยทำการศึกษาชาในส่วนที่เป็นก้านและใบของปัญจขันธ์แยกกัน ผลการศึกษาพบว่า ซอร์พชันของความชื้นของชาปัญจขันธ์ทั้งในส่วนที่เป็นก้านและใบมีลักษณะเป็นรูปตัวเจ และแบบจำลองของ GAB เป็นแบบจำลองที่มีความเหมาะสมที่สุดที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความชื้นและค่า aw ของชาปัญจขันธ์ในระหว่างการเก็บรักษา ส่วนค่า Xm (Monolayer moisture content) ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกถึงระดับของความชื้นต่ำสุดที่เหมาะสมจะเก็บชาปัญจขันธ์ไว้อย่างปลอดภัย จากการหาค่าดังกล่าวโดยใช้แบบจำลองของ GAB พบว่าค่า Xm สำหรับชาปัญจขันธ์ทั้งในส่วนที่เป็นก้านและใบคือ 0.041 g water/g dry matter
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=98P-HORT-0363.pdf&id=1732&keeptrack=4
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ซอร์พชันไอโซเทอมของความชื้นของชาสมุนไพรปัญจขันธ์ (Gynostermmapentaphyllum (Thunb.) Makino) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง