ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของสีน้ำเทียมต่อกิจกรรมของเอนไซม์ อัตราส่วนระหว่างทริปซิน ไคโมทริปซิน (T/C ratio) และการเจริญเติบโตของปลากะพงขาววัยรุ่นที่เลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง วิญญู บุญประเสริฐ
เจ้าของผลงานร่วม ประจวบ ฉายบุ , เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน , จงกล พรมยะ , ชนกันต์ จิตมนัส
คำสำคัญ ปลากะพงขาววัยรุ่น;สีน้ำเทียม;กิจกรรมเอนไซม์;ทริปซิน;ไคโมทริปซิน;ระบบน้ำหมุนเวียน
หน่วยงาน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของพีเอช และอุณหภูมิ ประสิทธิภาพของเอนไซม์ในลำไส้ปลากะพงขาววัยรุ่นที่เลี้ยงด้วยสีน้ำที่แตกต่างกันในระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด เพื่อเป็นความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมและบทบาทของเอนไซม์ย่อยอาหารทั้ง 2 ชนิดและเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวอย่างมีคุณภาพต่อไปได้ โดยการเลี้ยงปลากะพงขาววัยรุ่นใน สีน้ำธรรมชาติ (ชุดควบคุม), สีน้ำเทียมสีน้ำตาล, สีน้ำเทียมสีน้ำเงิน และสีน้ำเทียมสีเขียวอมน้ำเงิน เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า การเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อโดยใช้สีน้ำเทียมสีเขียวอมน้ำเงินมีการเจริญเติบโตดีกว่าชุดควบคุม โดยมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และอัตราการรอด 83.11±6.48 เปอร์เซ็นต์ เมื่อประเมินผลของสีน้ำที่แตกต่างกันต่อประสิทธิภาพของเอนไซม์ย่อยอาหารคือ ทริปซิน และไคโมทริปซิน มีกิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ทริปซินและไคโมทริปซิน รวมทั้งอัตราส่วนระหว่างทริปซินและไคโมทริปซิน (T/C ratio) ดีกว่าชุดการทดลองอื่น แสดงให้เห็นว่าสีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำชนิดนี้ และสามารถนำไปปรับปรุงระบบการเลี้ยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปลากะพงขาวในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิด (RAS) ได้
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.fishtech.mju.ac.th/FishNew1/Journal_FT_Attach/AbstractFile/P11-24-V13-1-Y2562.pdf
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลของสีน้ำเทียมต่อกิจกรรมของเอนไซม์ อัตราส่วนระหว่างทริปซิน ไคโมทริปซิน (T is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง