ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การพัฒนารูปแบบเครื่องประดับสร้างสรรค์จากเศษพลอยและพลอยเกรดต่ำ เพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
วรชัย รวบรวมเลิศ |
เจ้าของผลงานร่วม |
พิมพ์ทอง ทองนพคุณ ,
ดาวรรณ หมัดหลี ,
อลงกรณ์ ประมวญทรัพย์ ,
อัครเดช ฐิศุภกร ,
ปริญญา ชินดุษฎีกุล |
คำสำคัญ |
เศษพลอย;พลอยเกรดต่ำ;อัญมณีและเครื่องประดับ;เครื่องประดับสร้างสรรค์;การจัดการวัสดุเชิงสร้างสรรค์;การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ |
หน่วยงาน |
คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
ปีที่เผยแพร่ |
2563 |
คำอธิบาย |
การส่งเสริมการนำเศษพลอยและพลอยคุณภาพต่ำมาใช้โดยผู้ประกอบการธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อเพิ่มมูลค่าในรูปแบบของเครื่องประดับสร้างสรรค์นั้นเป็นสิ่งท้าทายในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับจังหวัดจันทบุรี ภายใต้แนวคิดของคณะผู้วิจัยที่ว่าความสร้างสรรค์สามารถยกระดับและผลักดันการผลิตและศักยภาพของธุรกิจเครื่องประดับได้ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรมเชิงสร้างสรรค์และออกแบบเครื่องประดับจากเศษพลอยและพลอยเกรดต่ำแก่ผู้ประกอบการเครื่องประดับในจังหวัดจันทบุรี เพื่อเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในการค้นหาเครื่องประดับรูปแบบใหม่ แนวคิดการออกแบบและการสร้างธุรกิจด้วยความสร้างสรรค์ และการสนับสนุนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในทางปฏิบัติ
คณะผู้วิจัยได้นำเสนอกระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากเศษพลอยและพลอยเกรดต่ำ ด้วยกระบวนการประกอบไปด้วย 1) การฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาการออกแบบเครื่องประดับจากเศษพลอยและพลอยเกรดต่ำ 2) การฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างตราสินค้า เอกลักษณ์ของตราสินค้า และการขยายโอกาสทางการตลาดจากผู้ประกอบการที่มีตราสินค้าเครื่องประดับที่ประสบความสำเร็จ และ 4) การติดตามการผลิตและการจัดแสดงผลงานเครื่องประดับ ด้วยกระบวนการที่นำเสนอนี้ คณะผู้วิจัยได้ออกแบบและผลิตเครื่องประดับต้นแบบจำนวน 10 ชุด เป็นตัวอย่างในการใช้อบรมผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการได้แก่ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดจันทบุรีจำนวน 24 ราย สำหรับการอบรมการออกแบบเชิงปฏิบัติการนั้น องค์ความรู้และกระบวนการพัฒนาการออกแบบเครื่องประดับจากเศษพลอยและพลอยเกรดต่ำได้ถูกถ่ายทอดสู่ผู้เข้าร่วมอบรมผ่านแนวความคิดและกระบวนการข้างต้น
ผลของโครงการแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถพัฒนาเครื่องประดับรูปแบบใหม่จากเศษพลอยและพลอยเกรดต่ำ ได้เป็นผลงานจำนวน 44 ชุด ที่สร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจส่วนบุคคลที่เหมาะกับธุรกิจของแต่ละประเภท ชุดเครื่องประดับทั้งหมดในโครงการนี้ได้ถ่ายทอดผ่านนิทรรศการแสดงเครื่องประดับและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ ผลจากการประเมินของผู้ประกอบการพบว่าเครื่องประดับสร้างสรรค์จากเศษพลอยและพลอยเกรดต่ำในโครงการนี้สามารถจำหนายได้และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าผลลัพธ์ของโครงการนี้คือ การพัฒาศักยภาพผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ถือเป็นการยกระดับทรัพยากรมนุษย์ และการเพิ่มมูลค่าการค้าเศษพลอยและพลอยเกรดต่ำ ซึ่งเปรียบเสมือนการพัฒนาวัตถุดิบและการจัดการการผลิต ซึ่งเป็นการสนับสนุนการดำเนินการเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และในที่สุดผลกระทบของโครงการในการจัดการเศษพลอยและพลอยตกเกรดเพื่อเชิงพาณิชย์จะส่งเสริมให้ชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับมีความเข้มแข็งและยั่งยืน |
สาขาการวิจัย |
|