- สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ
- 329 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ดนตรีชาติพันธุ์เนกริโต ในคาบสมุทรมลายู |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ทยา เตชะเสน์ |
คำสำคัญ | เนกริโต;มลายู;ดนตรีเนกริโต |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาดนตรีชาติพันธุ์เนกริโตในคาบสมุทรมลายู มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของดนตรีชาติพันธุ์เนกริโต 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงทางดนตรี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การลงพื้นที่ภาคสนาม การสัมภาษณ์นักดนตรีจำนวน 20 คน และกลุ่มชาวบ้าน เจ้าหน้าที่จำนวน 20 คน กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาคือชาวมันนิในประเทศไทยและชาวจาฮายในประเทศมาเลเซีย ผลการศึกษาพบว่า ดนตรีชาติพันธุ์เนกริโตในคาบสมุทรมลายู มี 2 ประเภทคือ 1) ดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรม 2) ดนตรีทั่วไปในชีวิตประจำวัน องค์ประกอบดนตรีมีสังคีตลักษณ์แบบทำนองเดียว ความหมายเนื้อร้องส่วนใหญ่สื่อถึง สัตว์ป่า ต้นไม้ และภูเขา มีระดับคู่เสียงห่างไม่เกินคู่ห้า บันไดเสียงเสียงเมเจอร์ พบเครื่องดนตรีจำนวน 6 ชิ้น เครื่องดนตรีส่วนใหญ่เน้นให้จังหวะ ลักษณะการบรรเลงโดยการดีด เคาะ การดึง และเป่า ปัจจุบันวัฒนธรรมดนตรีชาวเนกริโตมีการเปลี่ยนจากอดีตเพราะได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมดนตรีสมัยใหม่ เทคโนโลยี การสื่อสาร และระบบเศรษฐกิจที่เข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตชาวเนกริโต |
สาขาการวิจัย | - |