ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การปนเปื้อนของโลหะหนักตามรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่และแนวทางการพัฒนาสัตว์กลุ่มหอยเพื่อเป็นดัชนีชี้วัด (Heavy Metal Contamination Under Different Area Utilization Pattern and Possibility to Use Mollusc as an Indicator)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง พรพรรณ ศิลารัตน์
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.ดร.สุชาย วรชนะนันท์, ผศ.ดร.ภาสิณี วรชนะนันท์ และอาจารย์ ดร.นิลนาจ ชัยธนาวิสุทธิ์
คำสำคัญ การปนเปื้อน โลหะหนัก รูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ สัตว์กลุ่มหอย ดัชนีชี้วัด
หน่วยงาน ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่เผยแพร่ 2558
คำอธิบาย เมื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาสัตว์กลุ่มหอยเพื่อเป็นดัชนีชี้วัด โดยพิจารณาจากรูปแบบการดำรงชีวิต และลักษณะการกินอาหาร พบว่า หอยแมลงภู่ หอยเสียบ และหอยหวาน สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดการปนเปื้อนของโลหะหนักในน้ำและดินตะกอนได้ โดยหอยแมลงภู่สามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดการปนเปื้อนของโลหะหนักในน้ำ ส่วนหอยเสียบสามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดการปนเปื้อนของโลหะหนักในน้ำ และในดินตะกอน ในขณะที่หอยหวานสามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดโลหะหนักในดินตะกอน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=tU5E4onHQqA&feature=youtu.be
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง