ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การผลิตและการตลาดผักสดเพื่อการค้า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | สุดาจิต จิตลดาพร |
เจ้าของผลงานร่วม | นงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์ |
คำสำคัญ | การผลิตและการตลาดผักสด;กการปลูกผักเพื่อารค้า |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2562 |
คำอธิบาย | การศึกษาการผลิตและการตลาดผักสดเพื่อการค้า ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกผักเพื่อการค้า 3 กลุ่มคือ คะน้า กวางตุ้ง, หอมแบ่ง และโหระพา ในลักษณะกรณีศึกษาจำนวน 6 ราย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีวิธีการปลูกผักแตกต่างกันตามชนิดผัก คะน้า กวางตุ้ง และโหระพา ปลูกแบบยกร่อง และปลูกได้ตลอดปี หอมแบ่งปลูกในพื้นที่หลังนาเก็บเกี่ยวครั้งเดียว ในเดือนมีนาคม – เมษายน ส่วนโหระพาปลูกแบบยกร่องและตลอดปี ปีละ 2 รอบ ต้นทุนและผลตอบแทนใน 1 รอบการปลูกพบว่า โหระพามีต้นทุนการผลิตสูงสุด 17,650 บาทต่อไร่ แต่เป็นชนิดผักที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดที่ 7,550 บาทต่อไร่ คะน้า กวางตุ้ง มีต้นทุนการผลิตสูงระดับปานกลาง 9,336.67 และ 6,805 บาทต่อไร่ ซึ่งให้ผลตอบแทนระหว่าง 2,395 และ 5,663.33 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนต้นทุนหอมแบ่งสูงถึง 8,134.67 บาท ให้ผลตอบแทน 5,205.33 บาทต่อไร่ แม้ว่าคะน้า กวางตุ้งจะให้ผลตอบแทนต่ำกว่าโหระพา แต่เกษตรกรสามารถผลิตได้ 6 รอบในหนึ่งปี ทำให้เกษตรกรมีรายได้รวมจากการปลูกคะน้าสูงกว่าหอมแบ่งและโหระพา ซึ่งผลิตได้เพียง 1-2 รอบต่อปี |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=82.pdf&id=550&keeptrack=18 |
สาขาการวิจัย | - |
การผลิตและการตลาดผักสดเพื่อการค้า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.