ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการฟื้นฟูแนวปะการังด้วยหลักระบบนิเวศ
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์มัลลิกา เจริญสุธาสินี
เจ้าของผลงานร่วม รองศาสตราจารย์กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี , ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุทัย คูหาพงศ์ , นางสาวศิริลักษณ์ ชุมเขียว , นายพีรวิชญ์ เควด , นางสาว Fahmida Wazed Tina
คำสำคัญ ปะการัง;ฟื้นฟูแนวปะการัง;ระบบนิเวศ
หน่วยงาน ศูนย์ความเป็นเลิศนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปีที่เผยแพร่ 2558
คำอธิบาย ปะการังน้ำตื้นมีความสำคัญกับชุมชนอย่างน้อยสองด้าน คือเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชุมชนรายรอบ และยังเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของการท่องเที่ยว แนวปะการังในไทยประสบปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะมีการใช้ประโยชน์สูง ขาดการดูแล ถูกทำลายด้วยสมอ มีการสะสมขยะ ทั้งในรูปขยะชิ้น และน้ำเสียจากชุมชนต้นน้ำ ส่งผลให้รายได้ของชุมชนประมงพื้นบ้านไม่แน่นอน สัตว์ทะเลขาดแคลน อีกทั้งแนวปะการังที่อ่อนแกจะถูกทำลายด้วยคลื่นลมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อผลต่อชายฝั่งและสิ่งปลูกสร้างถูกทำลาย ประเด็นปัญหาดังกล่าวสะท้อนว่า ชุมชนต้องรวมตัวกันเพื่อจัดการแนวปะการังใหม่ แนวคิด "การฟื้นฟูแนวปะการังด้วยแนวคิดระบบนิเวศ" จึงเป็นกลไกสำคัญในการตอบโจทย์การจัดการดังกล่าว การฟื้นฟูนี้มองการจัดการแบบองค์รวมของระบบนิเวศ มุ่งแก้ปัญหาแนวปะการังน้ำตื้นที่เสื่อมโทรมจากปัญหาตะกอนทักปะการังน้ำตื้น ด้วยการนำปะการังแตกหักเสื่อมโทรมขึ้นมาพยาบาลบนแผงอนุบาลปะการัง มีการเสริมเติมสิ่งมีชีวิตให้ทะเล เช่น หอยและอื่นๆ เป็นวิธีการที่ได้มาจากการวิจัยที่เกาะสมุยเอง พบว่าปะการังมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว สัตว์ทะเล เช่น ปลา หมึก มีแหล่งบริบาล ทำให้เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง