ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงปลากระชัง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ปริญญา มูลสิน
เจ้าของผลงานร่วม สุรีรัตน์ บุตรพรหม , ปรีชา มูลสิน , ประพันธ์ ไตรยสุทธิ์ , ประวีรณ์ สุพรรณอ่วม , ณัฐพงศ์ วงษ์ชุ่ม
คำสำคัญ คุณภาพน้ำ;การเพาะเลี้ยงปลากระชัง;แม่น้ำมูล;แม่น้ำโขง;สาหร่ายบลูม;ไมโครซิสติส;ไมโครซิสติน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงปลากระชังในพื้นที่เพาะเลี้ยงปลากระชัง จังหวัดอุบลราชธานี โดยทำการสำรวจสภาพปัญหาของพื้นที่ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลกระทบจากคุณภาพน้ำ และการบลูมของสาหร่าย ผลการสำรวจโดยการใช้แบบสอบถาม พบว่า แหล่งน้ำเกิดปัญหา 87% ส่วนใหญ่เกิดช่วงฤดูร้อน ซึ่งเกิดจากคุณภาพน้ำส่งผลให้ปลาตาย รายได้ของการเพาะเลี้ยงปลากระชังมีกำไรลดลง 61% ผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ผู้เลี้ยงปลากระชัง จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับความรู้และสามารถปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาคุณภาพน้ำด้วยวิธีการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำ ใช้หญ้าขน ใช้กังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ อุปกรณ์กวาดสาหร่าย และการแก้ปัญหาสาหร่ายบลูมด้วยการใช้เครื่องกรองสาหร่าย ได้แนวทางการประเมินคุณภาพน้ำและสาหร่ายโดยการสังเกตเบื้องต้นของคุณภาพน้ำ จะสังเกตเห็นสีของน้ำเมื่อเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีเขียวลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ เขียวๆ คล้ายผำแต่แบนกว่า จะส่งผลต่อการตายของปลา และปริมาณการกินอาหารของปลาลดลง ผลของคุณภาพน้ำ พบว่า คุณภาพน้ำในแม่น้ำมูลระหว่างเดือนเมษายน 2562 ถึงเดือนมิถุนายน 2563 ใน 10 ท่าน้ำ มีคุณภาพน้ำปานกลางถึงไม่ดี ระดับสารอาหารปานกลางถึงสูง เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุงคุณภาพน้ำ พบว่า มีค่า DO เพิ่มขึ้น 17.40% ค่าการนำไฟฟ้า ไนเตรท ออร์โธฟอสเฟต และความหนาแน่นของสาหร่าย Microcystis spp. ลดลง10.71%, 23.14%, 10.97% และ 50.94% ตามลำดับ พบการบลูมของสาหร่าย Microcystis spp. ในฤดูร้อนและฤดูฝนในแม่น้ำมูล คุณภาพน้ำในแม่น้ำโขง ใน 5 ท่าน้ำ มีคุณภาพน้ำปานกลางถึงดี หรือมีสารอาหารน้อยถึงปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังปรับปรุงคุณภาพน้ำ พบว่า มีค่าแสงส่องถึง และ DO เพิ่มขึ้น 1.55% และ 12.25% ตามลำดับ ค่าการนำไฟฟ้าไนเตรท และแอมโมเนียลดลง 33.99%, 10.07% และ 77.90% ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ภาพรวมของทุกท่าน้ำพบว่ามีกำไรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 25% ได้ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการการเพาะเลี้ยงปลากระชังที่เหมาะสม แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ก่อนการบลูม อย่างน้อย 2 เดือน ปลายฤดูฝนถึงกลางฤดูหนาว โดยการเติมออกซิเจนด้วยกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำ ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนเพียงพอ ร่วมกับการเติมออกซิเจนด้วยกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ และใช้หญ้าขนปลูกในกระชังที่ว่าง ช่วงที่ 2 ช่วงที่มีการบลูม ในฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ใช้เครื่องกรองสาหร่าย อุปกรณ์กวาดสาหร่าย ร่วมกับการเติมออกซิเจนด้วยกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ หรือเครื่องซูเปอร์ชาร์จระดับก้นกระชัง ควบคู่กับให้ลดจำนวนปลาต่อการกระชังลง 20-50% และควรวางกระชังห่างกัน หรือวางแบบซิกแซก ชุมชนเรียนรู้การสังเกตการบลูมของสาหร่ายเห็นลักษณะเป็นเม็ดแบนเขียวเล็กๆ งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในด้านการลดต้นทุนเครื่องมือ อุปกรณ์ การแจ้งเตือนการปิดเปิดเขื่อน การช่วยเหลือด้านการจำหน่ายปลาในช่วงเวลาวิกฤต ควรจัดวางกระชังห่างกันหรือซิกแซก และการวิจัยต่อยอดเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาคุณภาพน้ำพื้นที่หน้าเขื่อน และการร่วมมือกันของผู้เพาะเลี้ยงในท่าน้ำเดียวกันเพื่อการป้องกันและแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านวิชาการ
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
  • เกษตรกรรม ป่าไม้ ประมง
  • ประมง

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง