ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บนฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับนักเรียนตาบอดในประเทศไทย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | นายภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์ |
คำสำคัญ | SCIENTIFIC LEARNING;ENVIRONMENTAL EDUCATION;BLIND STUDENTS;SCHOOL FOR THE BLIND |
หน่วยงาน | คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ปีที่เผยแพร่ | 2564 |
คำอธิบาย | การวิจัยนี้เป็นการสร้างรูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บนฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับนักเรียนตาบอดในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยและพัฒนา การวิจัยกึ่งทดลอง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนตาบอดจากโรงเรียนสอนคนตาบอดระดับประถมศึกษาศึกษา 192 คน ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และผู้กำหนดนโนบาย 33 คน ผ่านแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง แบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม แบบประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรม รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก และค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากเป็นนักเรียนตาบอดเพศชาย (ร้อยละ 52.10) ช่วงอายุ 11-15 ปี (ร้อยละ 59.90) นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 87.50) จากภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 26.56) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 30.73) ปัญหาและสถานการณ์เกี่ยวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนตาบอดในปัจจุบัน (1) สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ (2) ครูผู้สอนไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน (3) หลักสูตรการสอนวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมกับนักเรียนตาบอด ด้วยเหตุนี้ รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บนฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับนักเรียนตาบอดในประเทศไทย จึงประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง องค์ประกอบ (2) นักเรียนตาบอด องค์ประกอบ (3) สื่อและเทคโนโลยี องค์ประกอบ (4) กระบวนการเรียนรู้ องค์ประกอบ (5) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ องค์ประกอบที่ (6) การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบ (7) คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบ (8) บริบทของนักเรียนตาบอด องค์ประกอบ (9) แนวคิดการพัฒนามนุษย์แบบตะวันออก นอกจากนี้ ผลการประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาตามแนวคิดของเคิร์กแพทริคกับเรียนตาบอด จำนวน 32 คน พบว่า นักเรียนตาบอดมีระดับความพึงพอใจ ระดับการเรียนรู้ ระดับพฤติกรรม และระดับประโยชน์สาธารณะในระดับมากที่สุด |
สาขาการวิจัย |
|
รูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บนฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับนักเรียนตาบอดในประเทศไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.