ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดจำแนกทางพฤกษศาสตร์ของมะหาด (Artocarpus spp., Moraceae) และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพของพืชเพื่อผลิตสารกลุ่มสติลบีนอยด์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ชัยวัฒน์ เอนกลาภากิจ
เจ้าของผลงานร่วม รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. วีณา สาธิตปัตติพันธ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก. สมนึก บุญสุภา
คำสำคัญ มะหาด;เทคโนโลยีชีวภาพของพืช;สติลบีนอยด์;A. lacucha;A. thailandicus
หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปีที่เผยแพร่ 2564
คำอธิบาย มะหาด เป็นพืชสมุนไพรที่รู้จักและใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย ในหนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย ปรากฎพืชที่มีชื่อท้องถิ่นว่า มะหาด อย่างน้อย 2 ชื่อวิทยาศาสตร์ ได้แก่ Artocarpus lacucha และ A. thailandicus เนื่องจากมะหาดและพืชในสกุลนี้ มีความหลากหลายของลักษณะสัณฐานวิทยาสูง จึงทำให้เกิดความซับซ้อนในการพิสูจน์เอกลักษณ์และความสับสนในการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อการอ้างอิงในบทความทางวิชาการ การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบเพื่อผลิตและขึ้นทะเบียนเภสัชภัณฑ์ ดังนั้นจึงทำการศึกษาและทบทวนการจัดจำแนกทางพฤกษศาสตร์ของมะหาดทั้ง 2 สายพันธุ์ โดยทบทวนข้อมูลลักษณะสัณฐานวิทยาระดับมหภาคและจุลภาค, ทบทวนถิ่นการกระจายพันธุ์, ศึกษาวิวัฒนาการชาติพันธุ์โดยใช้ชิ้นส่วนดีเอ็นเอจากนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ รวมถึงศึกษาพฤกษเคมีเชิงคุณภาพของสารสำคัญหลักในกลุ่มสติลบีนอยด์คือ ออกซีเรสเวอราทอล โดยโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง สารกลุ่มสติลบีนอยด์ เป็นสารสำคัญของพืชที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดีและมีศักยภาพในการเป็นต้นแบบเพื่อใช้ในการพัฒนาเป็นยารักษาโรคในอนาคต สารกลุ่มนี้สกัดได้จากพืชเป็นหลักซึ่งปริมาณที่สกัดได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สายพันธุ์ของพืช ส่วนที่ใช้และฤดูกาล ดังนั้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพของพืชเพื่อผลิตสารกลุ่มสติลบีนอยด์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งเพื่อผลิตสารกลุ่มสติลบีนอยด์ให้ได้ในปริมาณที่มากขึ้นและใช้เวลาน้อยลง ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาการถ่ายยีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการชีวสังเคราะห์ของสารกลุ่มสติลบีนอยด์เพื่อให้เกิดการแสดงออกแบบชั่วคราวเข้าไปในใบยาสูบ และทำให้เกิดการแสดงออกของยีนออกซีเรสเวอราทอลเจอรานิลทรานส์เฟอเรสในต้นอะราบิดอพซิส
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง