ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การประเมินความเสี่ยงรังสีที่เลนส์ตาสำหรับบุคลากรด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
วราภรณ์ สุดใจ |
เจ้าของผลงานร่วม |
อัญชลี กฤษณจินดา ,
พริม อุกฤษฎ์มโนรถ ,
กชกร ชาตะโชติ ,
อาระญา มิ่งมงคลชัย ,
เจริญ ยินดีรัมย์ ,
จุรีพร อัศวรัตนภักดี |
คำสำคัญ |
การประเมินความเสี่ยง;รังสี;เลนส์ตา;สำหรับบุคลากร;ด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ |
หน่วยงาน |
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) |
ปีที่เผยแพร่ |
2564 |
คำอธิบาย |
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA) เป็นหน่วยงานหลักระหว่างประเทศที่กำกับดูแล ออกข้อกำหนด แนะนำให้ประเทศสมาชิกดูแลเรื่องการป้องกันอันตรายจากรังสีในด้านต่าง ๆ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 IAEA ได้จัดประชุมปรับปรุงในส่วนที่เกี่ยวกับการได้รับรังสีของบุคลากรด้านรังสี เนื่องจากมีข้อมูลจากผลการวิจัยใหม่เกี่ยวกับผลกระทบของปฏิกิริยารังสีที่มีต่อเลนส์ตา พบว่าขีดจำกัดใหม่กำหนดให้เลนส์ตารับรังสีได้ไม่เกิน 0.5 เกรย์ จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 5 เกรย์สำหรับการรับรังสีแบบเรื้อรัง ไม่เกิน 0.5 – 2 เกรย์ สำหรับการได้รับรังสีแบบฉับพลัน ซึ่งต่อมาหลังจากการปรึกษาหารือของประเทศสมาชิก สรุปให้ปรับลดค่าขีดจำกัดการได้รับรังสีที่เลนส์ตา (ปริมาณรังสีสมมูล) สำหรับผู้ปฏิบัติงานจากเดิมไม่เกิน 150 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี เหลือไม่เกิน 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี โดยเฉลี่ยในช่วงห้าปีติดต่อกันโดยแต่ละปีต้องไม่ได้รับรังสีเกิน 50 มิลลิซีเวิร์ต และตลอดในช่วงห้าปีติดต่อกันนั้นต้องไม่ได้รับรังสีเกิน 100 มิลลิซีเวิร์ต อีกทั้ง IAEA ได้ประกาศใช้เอกสารทางเทคนิค TECDOC หมายเลข 1731 (2013) ชื่อเรื่อง Implications for Occupational Radiation Protection of the New Dose Limit for the Lens of the Eye กล่าวถึงการวัดค่าปริมาณรังสีที่เลนส์ตา (Hp(3)) ด้วยแผ่นวัดรังสีที่ติดใกล้กับดวงตามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และแผ่นวัดรังสีชนิดนั้นได้ผ่านการสอบเทียบบนหุ่นจำลองรูปศีรษะที่ระยะลึก 3 มิลลิเมตรบนผิวหนัง |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านวิชาการ |
สาขาการวิจัย |
-
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
-
วิทยาศาสตร์เคมี
-
เคมีนิวเคลียร์
|