- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ลี้ตระกูล
- 586 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสำนึกในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ จันทะคุณ |
คำสำคัญ | การพัฒนาหลักสูตร จิตสำนึก การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ จิตตปัญญาศึกษา |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยนเรศวร |
ปีที่เผยแพร่ | 2564 |
คำอธิบาย | น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่มีสถิติการเกิด และสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยมากที่สุด ในปี 2554 เกิดมหาอุทกภัยน้ำท่วมประเทศไทย และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่หนึ่งที่ถูกกล่าวขานจากผลกระทบจากน้ำท่วมมายาวนาน ที่ผ่านมาชุมชนสามารถปรับตัวอยู่กับน้ำท่วมได้ แต่กรณีเกิดเป็นภัยพิบัติน้ำท่วมก็ไม่สามารถรับมือได้ รวมถึงเยาวชนรุ่นหลังขาดทักษะ และความตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ใช้ในการปรับตัวอยู่กับน้ำท่วม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนในชุมชนบางระกำที่ประสบภัยน้ำท่วมให้เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นครั้งต่อไปผ่านการเรียนรู้ตามหลักสูตรน้ำท่วมที่ใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษาที่เรียกว่า MAR 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างสติ (Mindfulness) ขั้นที่ 2 การลงมือปฏิบัติ (Action) และขั้นที่ 3 การสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection) เป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างจิตสำนึกของนักเรียน ซึ่งผลการทดลองใช้หลักสูตรพบว่า นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติอยู่ในระดับที่สูงขึ้น มีความตระหนักเห็นคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่บรรพบุรุษใช้ในการปรับตัวอยู่กับน้ำ และมีจิตสำนึกร่วมต่อการจัดการภัยพิบัติในโรงเรียนและชุมชนของตนเอง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/29176 |
สาขาการวิจัย |
|
การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสำนึกในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.