- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุทธนา เขาสุเมรุ
- 289 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมมะขามในของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจบ้านเสี้ยว ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กันต์ อินทุวงศ์ |
คำสำคัญ | การจัดการเทคโนโลยี;แบบมีส่วนร่วมมะขาม;กลุ่มวิสาหกิจบ้านเสี้ยว;เสริมสร้างขีดความสามารถ;คนในท้องถิ่น |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2564 |
คำอธิบาย | การจัดการเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมมะขามในของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจบ้านเสี้ยว ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เป็นโครงการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในท้องถิ่นกระบวนการผลิตและกระบวนการแปรรูปการกรีดมะขามบ้านเสี้ยวของอำเภอฟากท่า จังหวัด โดยการนำเทคโนโลยีไปสู่การใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต คุณภาพของผลผลิตและปริมาณผลผลิต โดยทำการสำรวจติดตามประเมินผลโครงการจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวนทั้งสิ้น 72 คน โดยจัดโครงการโดยใช้ชื่อว่า KM:ภาคปฏิบัติชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด ( = 4.51) โดยมีการการสังเกตการณ์ยอมรับนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.65) ความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) ด้านคุณลักษณะที่เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49) ด้านประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) และเนื้อหาสาระในคู่มืออยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56) โดยการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ เท่ากับ 58.61 ซึ่งแสดงว่าผู้รับ มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนเข้ารับการอบรมในระดับค่อนข้างมาก และมีความพึงพอใจ โดยภาพรวมในระดับมาก ( = 4.30) โดยผลการสร้างต้นแบบให้กับผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีของเครื่องปอกเนื้อมะขามหวานสุกได้ถูกประกอบขึ้นจาก Aluminium Profile ทำให้มีความแข็งแรง ในส่วนของสายพานลำเลียงที่ทำหน้าที่ลำเลียงมะขาม ประกอบไปด้วยสายพานสองชุดนั้นคือสายพานบนและสายพานล่าง ซึ่งทำหน้าที่กดฝักมะขามและปรับกายภาพมะขามให้เป็นแนวตรง ก่อนที่จะถูกกรีดเนื้อด้วยใบมีด สำหรับต้นกำลังที่ใช้ในการขับเคลื่อนระบบนั่นคือมอเตอร์กระแสตรง 24 โวลต์ มอเตอร์ดังกล่าวถูกออกแบบให้ขับเฟืองของใบมีดและเฟืองของสายพานในเวลาเดียวกัน ส่งผลทำให้เมื่อทำการปรับสวิตช์ของความเร็วมอเตอร์ ในระดับความเร็วใดๆ ก็จะได้ความเร็วที่เท่ากันของทั้งใบมีและสายพานเช่นกัน ซึ่งการทดสอบหาอัตราการผลิตของเครื่องจักรของใน การทดสอบทั้งหมดจำนวน 5 พบว่าอัตราการผลิตสูงสุดอยู่ที่ 4 วินาทีต่อฝัก และอัตราการผลิตต่ำสุดอยู่ที่ 7 วินาทีต่อฝัก หรือมีอัตราการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 687 ฝักต่อชั่วโมงหรือ 93 กิโลกรัมต่อวัน (1 วันทำงานมี 8 ชั่วโมงและ 1 ฝักมีน้ำหนักเฉลี่ย 0.017 กิโลกรัม) จะเห็นได้ว่าอัตราการผลิตดังกล่าวขึ้นอยู่กับความยาวฝักมะขามที่ไม่เท่ากัน และความเร็วในการป้อนมะขามของผู้ทดลองอัตราการผลิต เวลาในการทดลองจำนวน 10 ฝัก 54 วินาที 687 ฝักต่อชั่วโมง ซึ่งจุดคุ้มทุนโดยผลิต 93 กก./วัน (1 เดือนทำงาน 20 วัน) วันละ 8 ชั่วโมง รายได้ต่อเดือน 520,800 บาท จะผลิตมะขามไร้เมล็ดได้ กก. ละ 280 บาท โดยที่ค่าเฉลี่ย 300/วัน ค่าซื้อมะขามสุก 18,556/วัน มีค่าไฟฟ้า 1.83 บาท/วัน (ค่าแรงงาน + ค่าซื้อมะขามหวานสุก + ค่าไฟฟ้า) x (20 วัน) 377,157 บาทต่อเดือน จะมีจุดคุ้มุทน ที่ 2 เดือน 9 วัน |
สาขาการวิจัย |
|