ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การใช้ประโยชน์จากเครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุนเพื่อการจัดการผลผลิตทางการเกษตร |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
รองศาสตราจารย์ ดร. จักรมาส เลาหวณิช |
เจ้าของผลงานร่วม |
รองศาสตราจารย์ ดร. สุพรรณ ยั่งยืน ,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา |
คำสำคัญ |
เครื่องอบแห้งอินฟราเรด;การจัดการผลผลิตทางการเกษตร;ลดความชื้นข้าวเปลือก |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 |
ปีที่เผยแพร่ |
2564 |
คำอธิบาย |
เครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุน เป็นแบบโรตารีหรือถังหมุน ใช้เบอร์เนอร์อินฟราเรดแบบใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงสร้างรังสีอินฟราเรดแผ่ให้วัสดุชื้นที่ป้อนจากด้านหนึ่งของถังด้วยเกลียวลำเลียง ในขณะเดียวกันพัดลมที่ติดตั้งอยู่ด้านนอกถังจะเป่าก๊าชที่เผาไหม้ของอินฟราเรดเบอร์เนอร์ไปยังถังส่วนที่สองเพื่อใช้เป็นลมร้อนสำหรับอบแห้งวัสดุอย่างต่อเนื่องและปล่อยออกที่อีกด้านหนึ่งของถัง เครื่องอบแห้งสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานยังสถานที่ต่างๆ ได้ง่าย มีความสามารถในการทำงานประมาณ 0.5 – 5 ตันวัตถุดิบต่อชั่วโมง (เปลือกไม้ยูคาลิปตัส ข้าวเปลือก) สามารถลดความชื้นได้ 4-6 %w.b. ในเวลา 3-5 นาที นอกจากนั้นยังพบว่าวัสดุมีสภาพร่วนขึ้นไม่เกาะติดกันทำให้สามารถนำไปย่อยลดขนาดได้ดีขึ้น ใช้เชื้อเพลิงก๊าซแอลพีจี ประมาณ 1.2 กิโลกรัม/ชั่วโมง กำเนิดรังสีอินฟราเรด และใช้กำลังไฟฟ้ารวมประมาณ 3,500 วัตต์ ต้องการใช้แรงงานในการควบคุมการทำงานของเครื่อง 1-2 คน จึงเป็นเครื่องอบแห้งที่ใช้พลังงานได้อย่างคุ่มค่า ประหยัดเชื้อเพลิง และค่าจ้างแรงงาน เหมาะสำหรับกิจการขนาดย่อม กลุ่มเกษตรกร สามารถอบแห้งได้ทั้งวัสดุที่มีลักษณะเป็น ผง ก้อน เม็ด เมล็ดพืช ถือเป็นเครื่องมือทุ่นแรงที่มีความเหมาะสมสำหรับกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการรายย่อยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังใช้งานได้ดีในกิจกรรมลดความชื้นในการบวนการแปรรูปผลผลิตเกษตรอื่นๆ เช่นการทำข้าวกล้องงอกซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคอาหารสุขภาพ ทำให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้มูลค่าสูงขึ้น |
สาขาการวิจัย |
|