คำอธิบาย |
ถ่านชีวภาพมีปริมาณธาตุหลักและธาตุอาหารรอง ค่อนข้างสูงและครบถ้วนที่พืชสามารถนาไปใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักจะเห็นได้ว่าถ่านชีวภาพมีปริมาณธาตุอาหารที่มากกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมีจะมีปริมาณที่น้อยกว่าก็ตาม แต่ธาตุอาหารส่วนมากจะปลดปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ เพราะธาตุอาหารบางส่วนเป็นองค์ประกอบของสารอินทรีย์และบางส่วนอยู่ในรูปคีเลต จึงมีการสูญเสียเนื่องจากการชะล้างน้อย และถ่านชีวภาพมีความเป็นด่างที่จะช่วยลดความรุนแรงจากสภาพกรด
ลดความเป็นพิษของเหล็กและอะลูมินัม เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส และเป็นแหล่งธาตุอาหารของจุลินทรีย์ในดิน นอกจากนี้ถ่านชีวภาพยังให้ธาตุอาหาร เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม รวมถึงธาตุเสริมประโยชน์ซิลิคอนแก่ดิน ที่จะสามารถสรุปผลและประสิทธิภาพของถ่านชีวภาพต่อการปรับปรุงบารุงดิน ที่เกษตรกรสามารถนาไปใช้เป็นแนวทางหนึ่งของการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือทิ้งทาง
การเกษตรในการเป็นวัสดุปรับปรุงบารุงดินดินในพื้นที่การเกษตรของต้นเองได้ จะเห็นได้ว่าถ่านชีวภาพมีบทบาทของการทาหน้าที่ปรับปรุงบารุงดิน ด้วยสมบัติที่ให้ธาตุอาหารพืชที่สาคัญ (K, Mg, Ca, PO4, NH4+) มีความพรุนสูงส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการอุ้มน้าเพิ่มความชื้นของดิน มีสภาวะเป็นด่างที่สามารถนามาเป็นวัสดุปรับปรุงสภาพดินกรดได้ มีพื้นที่ผิวประจุบวกเป็นจานวนมากทาให้สามารถดูดซับธาตุอาหารพืชและโลหะหนักในดินได้ และด้วย วทน. ที่ใช้กระบวนการเผาแบบไพโรไรซิส ส่งผลให้ถ่านชีวภาพที่ได้มีรูพรุน พื้นที่
ผิวสัมผัสสูง จึงทาใหมีความสามารถในเพิ่มความชื้นในดิน และการดูดซับธาตุอาหารที่สามารถละลายน้าได้มากจึงทาใหเพิ่มแหล่งอาหารที่เหมาะสมตอการเจริญเติบโตของจุลินทรียและไปกระตุนกิจกรรมของจุลินทรียในดินจะส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินดีขึ้นเมื่อสมบัติทางกายภาพดินดีทาให้เกิดความหลากหลายของประชากรจุลินทรีย์ดิน จะส่งให้เกิดวัฏจักรชีวเคมี ปรับปรุงโครงสร้างและอนุภาคมวลรวมของดิน |