ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาชีวมวลสำหรับนึ่งฆ่าเชื้อก้อนเพาะเห็ดและแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี้ยงจังหวัดเชียงใหม่ |
---|---|
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ | Technology transfer of biomass burner technology for steam sterilization mushroom cultivation and agricultural product processing in the area of the Pa Miang Royal Project Development Center, Chiang Mai Province |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | บริสุทธิ์ จันทรวงศ์ไพศาล |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ | Borisut Chantrawongphaisal |
เจ้าของผลงานร่วม | พงษ์ศักดิ์ หงษ์เจริญศรี , โสธิชา กิจอาสา , ธนากรณ์ วาระเพียง |
คำสำคัญ | ชีวมวล (Biomass);ไอน้ำ (Steam);ตู้อบ (Dryer);การเผาไหม้ (Combustion);ฝุ่นละออง (Particular matter);ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 (Particular matter 2.5;เห็ด (Mushroom);ถังนึ่ง (Steaming tank) |
หน่วยงาน | สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย |
ปีที่เผยแพร่ | 2565 |
คำอธิบาย | โครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาชีวมวลสำหรับนึ่งฆ่าเชื้อก้อนเพาะเห็ดและแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี่ยงจังหวัดเชียงใหม่” เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดผลิตไอน้ำและลมร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวลจำนวน 3 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย ห้องเผาไหม้ชีวมวลพร้อมหม้อต้มไอน้ำ ตู้นึ่งก้อนเพาะเห็ดขนาดความจุ 4.3 ลูกบาศก์เมตร บรรจุก้อนเพาะเห็ดได้ 1,500 ก้อนต่อครั้ง และตู้อบลมร้อน ขนาดความจุ 1.7 ลูกบาศก์เมตร สำหรับอบแห้งผลผลิตทางเกษตร ได้แก่ ลูกพลับ แมคคาเดเมีย ใบชาแก่ และชาอัญสัม เป็นต้น จากผลการศึกษา พบว่า ชุดผลิตไอน้ำและลมร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวลนี้มีประสิทธิภาพการเผาไหม้อยู่ในช่วงร้อยละ 58 – 94 ประสิทธิภาพเตาสูงร้อยละ 32-58 และสามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงมากกว่าร้อยละ 70 และถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาชีวมวลแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรที่มีขนาดความจุเชื้อเพลิง 56 ลิตร จำนวน 30 เตา โดยใช้ชีวมวลเหลือทิ้งในท้องที่เพื่อเป็นแหล่งเชื้อเพลิงแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม (LPG) เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้ จากการติดตามและประเมินผล พบว่า ในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการใช้งานเตาชีวมวลนี้อยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจากเป็นเตาชีวมวลที่มีความเอนกประสงค์ สามารถใช้งานได้หลากหลาย โดยมีความถี่ในการใช้งานส่วนใหญ่อยู่ที่สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง เกษตรกรได้ใช้ในการประกอบอาหาร คั่วหรือนึ่งใบชา ต้มหน่อไม้ ผิงไฟ ต้มน้ำ ต้มเมล็ดกาแฟเพื่อฆ่ามอด และใช้เพื่อนึ่งก้อนเพาะเห็ด จากผลการศึกษาปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) พบว่า เมื่อเริ่มจุดเตาชีวมวลเพื่อผลิตไอน้ำในการนึ่งฆ่าเชื้อก้อนเพาะเห็ดโดยใช้ไม้ฟืน พบว่า ในชั่วโมงแรกที่ทำการทดลอง ปริมาณ PM2.5 มีค่าเพิ่มขึ้น อยู่ในช่วง 20 – 156 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เนื่องมาจากในช่วงเริ่มต้นที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงจะเป็นช่วงไล่ชื้นในเนื้อไม้จึงทำให้เกิดฝุ่นควันค่อนข้างสูง ในการทดลองชั่วโมงถัดมา PM2.5 มีค่าแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ จนถึง 0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามระยะเวลาที่ทำการทดลอง ซึ่งมีค่าไม่เกินมาตรฐาน PM2.5 ที่กำหนดไว้ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากการติดตามและประเมินผล พบว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ก่อให้เกิดการเชื่องโยงระหว่างเกษตรกรผู้รับการถ่ายทอดและเกษตรกรในพื้นที่ข้างเคียง รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการ การใช้งาน กระบวนการ ทำให้เกิดการบูรณาการและเกิดเป็นชุมชนเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านสังคม/ชุมชน |
สาขาการวิจัย |
|
การถ่ายทอดเทคโนโลยีเตาชีวมวลสำหรับนึ่งฆ่าเชื้อก้อนเพาะเห็ดและแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงป่าเมี้ยงจังหวัดเชียงใหม่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.