ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การใช้อาหารจากการหมักผลพลอยได้จากวัสดุการเกษตรเพื่อผลิตไก่ไข่ภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ ในจังหวัดเชียงราย พะเยา และแม่ฮ่องสอน
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ Utilization of fermented diet from agricultural by-product on layer hen production according to the development of children and youth in remote areas of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn in Chiang Rai, Phayao and Mae Hong Son provinces
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รวิสรา รื่นไวย์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ Rawisara Ruenwai
เจ้าของผลงานร่วม ขรรค์ชัย ดั้นเมฆ , กนกกาญจน์ ภู่สุวรรณ , จีระศักดิ์ ชอบแต่ง , ชัยณรงค์ วงค์สรรศรี , อมรินทร์ เดชานุวัติ , บาจรีย์ ฉัตรทอง , พรรณทิพย์ สมมิตร , โชค โสรัจกุล , สุคีพ ไชยมณี , เสน่ห์ ไชยงาม
คำสำคัญ ไก่ไข่;อาหารหมัก;ผลพลอยได้จากวัสดุการเกษตร;ถิ่นทุรกันดาร;ภาคเหนือ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยพะเยา
ปีที่เผยแพร่ 2565
คำอธิบาย ไก่เนื้อและไก่ไข่ต้องการอาหารที่มีโภชนะของโปรตีนในช่วง 14-22% โดยอาหารผสมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันประกอบไปด้วยวัตถุดิบหลายชนิด เช่น ปลาป่น กากถั่วเหลือง รำละเอียด ซึ่งจะผ่านการอัดเม็ดและ ทำแห้ง ต้นทุนทั่วไปของอาหารสำเร็จรูปโปรตีนราคาเฉลี่ย 15-20 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นการหาแนวทางลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์โดยการเลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีราคาถูกทดแทนวัตถุดิบที่มีราคาแพง จะช่วยให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ในส่วนที่เป็นค่าอาหารสัตว์ลดต่ำลงได้ ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลผลพลอยได้จากวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่ทุรกันดารและพื้นที่สูง ส่วนมากจะเป็นเศษผักและเศษอาหารทั้งที่ได้จากการตัดแต่งและจากการบริโภคซึ่งเน่าเสียได้ง่ายโดยเฉพาะใน 3 จังหวัดภาคเหนือซึ่งมีผลผลิตการเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่มีราคาถูก คือ ฟักทอง มันสำปะหลัง และ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมื่อนำมาหมักร่วมกับวัสดุการเกษตรอื่นที่หาได้ในท้องถิ่น พบว่า สามารถใช้วัสดุดังกล่าวผสมเป็นอาหารโปรตีน 14-22% มีต้นทุนเฉลี่ย 10 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งราคาถูกกว่าอาหารสำเร็จรูปทางการค้า และ สูตรกรมปศุสัตว์ที่ราคาเฉลี่ย 12-15 บาทต่อกิโลกรัม ผ่านการจัดการองค์ความรู้ คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีเอนไซม์ย่อยเยื่อใยพืชหมักเพิ่มโภชนะและการย่อยได้วัตถุดิบการเกษตรและผลพลอยได้ทางอุตสาหกรรมบางชนิดเพื่อผลิตเป็นอาหารไก่ไข่ ร่วมกับการพัฒนาและส่งต่อองค์ความรู้ โดยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ร่วมดำเนินงานไปพร้อมกับชุมชนตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฯ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรียนและครัวเรือนผู้ปกครองโดยอบรมไปกว่า 8 ครั้ง จำนวนผู้ที่ได้รับการอบรมกว่า 200 ราย มีการสร้างศูนย์เรียนรู้ด้านการผลิตไก่ไข่ขึ้นผ่านนักวิชาการและเกษตรกรแกนนำในพื้นที่เฉลี่ย 1 คนต่อศูนย์ต่อจังหวัด มีต้นทุนผลตอบแทนที่มีตัวชี้วัดหลายมิติที่สามารถประเมินได้ ได้แก่ (ก) มิติด้านนวัตกรรม ซึ่งเป็นการบูรณาการศาสตร์ด้านจุลินทรีย์และเอนไซม์อาหารสัตว์เพื่อไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่ไข่ (ข) มิติด้านเศรษฐกิจ จากต้นทุนค่าอาหารไก่ไข่ที่ลดลงซึ่งทำให้มีรายได้จากการผลิตไก่ไข่เทียบเท่า หรือ มากกว่ากระบวนการแบบเดิมที่ได้ปฏิบัติมา (ค) มิติด้านสังคม ซึ่งมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรมปศุสัตว์ และหน่วยงานในพระราชดำริ และ (ง) มิติด้านสิ่งแวดล้อม โดยการใช้นวัตกรรมจุลินทรีย์และเอนไซม์ทดแทนการใช้สารเคมี รวมไปถึงการใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีมูลค่าต่ำ หรือ วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพิ่มมูลค่าเพื่อเป็นส่วนประกอบของอาหารไก่ไข่ที่พัฒนาขึ้น ในขณะที่ (จ) มิติด้านวิชาการ คณะผู้วิจัยได้รวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนางานวิจัยให้ได้ผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีผลกระทบสูงในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 1-2 เรื่อง ได้องค์ความรู้ใหม่อันเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน อีกทั้งเครือข่ายวิจัยที่เกิดขึ้นเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ การประชุม สัมมนา ฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมผ่านสื่อออนไลน์ อันจะนำไปสู่การขยายผลไปสู่เครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ไข่รายใหม่ในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อไป สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ประเด็นส่งเสริมการเกษตรยุทธศาสตร์ ที่ 2 การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านสังคม/ชุมชน
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การใช้อาหารจากการหมักผลพลอยได้จากวัสดุการเกษตรเพื่อผลิตไก่ไข่ภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ ในจังหวัดเชียงราย พะเยา และแม่ฮ่องสอน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เอกสารเพิ่มเติม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง