ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมระบบผลิตเกลือทะเลคุณภาพสูงด้วยการสะตุเกลือ แบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มมูลค่าของเกลือทะเลไทย |
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ |
Innovation of high quality sea-salt production using automatic prototype- apparatus and calcination for value addition |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ |
CHUTHAMAT THAKLAEWPHAN |
เจ้าของผลงานร่วม |
จินตนา วิบูลย์ศิริกุล ,
ราเชณ คณะนา ,
ดวงกมล อังอำนวยศิริ ,
ครรชิต ภาวนานนท์ ,
กมลวรรณ วงศ์วุฒิ ,
ขวัญชัย หนาแน่น |
คำสำคัญ |
เกลือทะเล;การสะตุเกลือ;อัตโนมัติ |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี |
ปีที่เผยแพร่ |
2566 |
คำอธิบาย |
ราคาเกลือทะเลของไทยตกต่ำเนื่องจากคุณภาพของเกลือทะเลไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อ ผู้ผลิตมีเกลือทะเลสีน้ำตาล-ดำ ตกค้างในโรงเรือนหลายแสนตัน ผู้ซื้อต้องการเกลือที่มีสีขาว สะอาด มีผลึกเล็ก ความชื้นต่ำ เพื่อนำไปบริโภค “ระบบต้นแบบสะตุเกลือแบบอัตโนมัติ” พัฒนาขึ้นจากการนำภูมิปัญญาการสะตุเกลือของไทย ซึ่งเป็นกระบวนการทำให้เกลือทะเลที่มีความสะอาดมากขึ้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้นำเกลือทะเลสีน้ำตาล-ดำไปสะตุ โดยการละลายให้อิ่มตัว การทิ้งให้ตกตะกอน การต้มระเหยน้ำ และการตากแห้ง ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า 3 วัน สิ้นเปลืองแรงงาน อาจก่ออันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน อัตราการผลิตต่ำ (0.27 กิโลกรัม/ชั่วโมง) ใช้ไม้ฟืนประมาณ 2 ลบ.ม.เป็นแหล่งเชื้อเพลิง และแรงงาน 2 คน ตลอด 3 วัน การพัฒนาระบบต้นแบบสะตุเกลือแบบอัตโนมัติจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกลือทะเลที่มีสีน้ำตาลดำ มีความบริสุทธิ์มากขึ้น ลดระยะเวลาการผลิต ลดปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ และเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถควบคุมกระบวนการผลิตให้มีความสม่ำเสมอได้ ระบบต้นแบบเครื่องผลิตเกลือทะเลคุณภาพสูงที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยเครื่องจักร 4 เครื่อง ได้แก่ เครื่องละลายเกลือ เครื่องกรองน้ำเกลือ เครื่องระเหยน้ำเกลืออัตโนมัติ และเครื่องบดเกลือ ซึ่งใช้ไฟฟ้าและแก๊สหุงต้ม ตามลำดับ ใช้ต้นทุนผลิตเครื่องจักร 339,500 บาท ผลิตเกลือสะตุคุณภาพสูงได้ 0.96 กิโลกรัม/ชม. ต้นทุนสาธารณูปโภค 13.41 บาท/กิโลกรัม-เกลือทะเล ใช้คน 1 คน โดยมีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานแต่ละเครื่องดังนี้ เครื่องละลายเกลือ มีอัตราการละลายปริมาณน้ำเกลืออิ่มตัว 210 ลิตร/ชั่วโมง ได้น้ำเกลือทะเลอิ่มตัวสีน้ำตาลเข้ม เครื่องกรองน้ำเกลือมีอัตราการกรอง 276 ลิตร/ชม สามารถกำจัดคราบน้ำมัน ดินโคลนจนได้น้ำเกลือใสคล้ายน้ำดื่ม และเครื่องระเหยน้ำ มีอัตราการระเหย 7.5 ลิตร/ชม. เกลือทะเลที่ได้จากระบบต้นแบบฯ นำมาอบแห้งต่อเพื่อเสริมสารไอโอดีนหรือสารป้องกันการจับตัวได้ตามต้องการ ช่วยเพิ่มมูลค่าจากเกลือดำที่มีราคา 0.3-0.5 บาท/กิโลกรัม เป็นเกลือขาวป่นละเอียด นำไปบริโภคได้ที่มีราคา 120-150 บาท/กิโลกรัม |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านสังคม/ชุมชน |
สาขาการวิจัย |
|