- ศาสตราจารย์ ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง
- 75 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นและการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดชัยภูมิ |
---|---|
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ | Development of Shallow Groundwater Resources and Aquifer Recharge in Water Shortage Areas with Community Participation in Chaiyaphum Province |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ภาสกร ปนานนท์ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ | Passakorn pananont |
เจ้าของผลงานร่วม | อรนุช เหล่าเพ็ญศรี , บรรจง พรมจันทร์ , นิรันดร์ ชัยมณี , ไฉน รินแก้ว , กัญจน์นรี ช่วงฉ่ำ , เรขา ศรีสมบูรณ์ , ทรงศักดิ์ ม่วงน้อย , กานติมา ทองพุ่ม |
คำสำคัญ | การเติมน้ำใต้ดิน;แหล่งน้ำบาดาลระดับตื้น;พื้นที่ขาดแคลนน้ำ;การสำรวจธรณีฟิสิกส์;ระบบเติมน้ำใต้ดินผ่านสระเติมน้ำ;ระบบเติมน้ำใต้ดินผ่านบ่อวงคอนกรีต |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2566 |
คำอธิบาย | โภคและน้ำใช้ในการเกษตรมาโดยตลอด ปัจจุบันมีการใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรเป็นจำนวนมาก จนขาดสมดุลและมีการทำระบบเติมน้ำใต้ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการทำให้เสี่ยงต่อการปนเปื้อน ของน้ำใต้ดินในระยะยาว โครงการการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นและการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ ขาดแคลนน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเหมาะสม ของพื้นที่ในการจัดทำระบบเติมน้ำใต้ดิน และดำเนินการนำร่องในการจัดสร้างระบบเติมน้ำใต้ดิน ระดับตื้นในจังหวัดชัยภูมิ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การดำเนินการได้พัฒนาเทคนิคการคัดเลือก พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทำระบบเติมน้ำใต้ดินประเภทต่าง ๆ โดยใช้องค์ความรู้แบบบูรณาการ ด้านอุทกธรณีวิทยา ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน ธรณีฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์ โทรสัมผัส ประมวลผลและ แปลความหมายข้อมูลเพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม พร้อมทั้งสำรวจภาคสนามเพื่อสำรวจสภาพทาง ธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ เก็บตัวอย่างตะกอนในภาคสนาม วิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อออกแบบระบบ เติมน้ำใต้ดินให้เหมาะสมกับพื้นที่ศึกษา จากผลการศึกษาสามารถกำหนดพื้นที่ที่มีความเหมาะสมและ ได้จัดทำระบบเติมน้ำใต้ดิน 2 รูปแบบได้แก่ ระบบการเติมน้ำใต้ดินแบบบ่อวงคอนกรีตและแบบเก็บ เกี่ยวน้ำฝนจากหลังคา: พื้นที่ บ้านคลองบอน ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความ เหมาะสมทางอุทกธรณีวิทยา โดยมีชั้นทึบน้ำหรือชั้นดินเหนียวค่อนข้างหนา (5-10 เมตร) และมีการใช้บ่อบาดาลเพื่อการเกษตรเป็นจำนวนมาก ทำให้อาจจะเกิดการลดระดับลงของน้ำบาดาล ในอนาคต จึงได้จัดทำระบบเติมน้ำใต้ดินผ่านบ่อวงคอนกรีตในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ และระบบเติมน้ำ แบบสระ: พื้นที่บ้านหนองช้างเอก ตำบลหนองขาม อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งพื้นที่ศึกษา โดยรอบมีการใช้น้ำเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่จากบ่อบาดาลเป็นจำนวนมาก มีชั้นดินเหนียวปิดทับ ชั้นหินผุค่อนข้างบาง (3-4 เมตร) สำหรับโครงการวิจัยต่อเนื่องในปีที่ 2 จะดำเนินการติดตาม ประสิทธิภาพและคุณภาพของระบบเติมน้ำใต้ดิน ได้แก่ ประสิทธิภาพของระบบ ปริมาณน้ำที่ได้ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ซึ่งจะใช้เป็นวิธีการต้นแบบ ในการจัดทำระบบเติมน้ำใต้ดินและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชนในการนำไปขยายผล จัดทำระบบ เติมน้ำใต้ดินในพื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดชัยภูมิโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจ ในการจัดการน้ำบาดาลให้มีประสิทธิภาพและช่วยอนุรักษ์น้ำบาดาลให้มีใช้อย่างยั่งยืนสืบไป |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านสังคม/ชุมชน |
สาขาการวิจัย |
|
การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นและการเติมน้ำใต้ดินในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดชัยภูมิ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.