ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การประยุกต์ใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช และศัตรูสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รศ.ดร. นุชรีย์ ศิริ
คำสำคัญ ไรตัวห้ำ;Amblyseius cinctus;ศัตรูธรรมชาติ;ด้วงเต่า Serangium sp.
หน่วยงาน ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศัตรูธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตศัตรูธรรมชาติ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีแก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและเกษตรกร มีผลการดำเนินงานดังนี้ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ พบว่าเหยื่อที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงไรตัวห้ำ Amblyseius cinctus คือ ไรขาว ไรแดง และเกสรธูปฤาษีใส่รวมกัน การทดสอบประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ A. cinctus พบว่าไรตัวห้ำสามารถลดประชากรไรขาว Polyphagotarsonemus latus ได้ที่อัตรา 1:20 และ 1:30 เมื่อปล่อย 3 และ 5 ครั้ง (ปลดปล่อยตัวห้ำสัปดาห์ละครั้ง) สำหรับความสามารถในการห้ำของด้วงเต่า Serangium sp. ต่อแมลงหวี่ขาว พบว่าด้วงเต่า Serangium sp. วัย 4 และตัวเต็มวัยสามารถกินแมลงหวี่ขาวได้มากที่สุด คือ 25-31 ตัว/วัน ที่อุณหภูมิ 35°C การทดสอบประสิทธิภาพของแมลงช้างปีกใส Mallada basalis ต่อเพลี้ยไฟ พบว่าแมลงช้างปีกใสสามารถลดประชากรเพลี้ยไฟได้ เมื่อปล่อย 3 ครั้ง ที่อัตรา 1:20 และ 1:30 พริกในระยะติดผล มีแมลงวันผลไม้ Bactrocera latifrons เป็นศัตรูสำคัญ โดยพบว่า Steinernema siamkayai ทำให้หนอนแมลงวันตายมากที่สุดถึง 94.44%
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การประยุกต์ใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช และศัตรูสัตว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง